Wednesday, December 12, 2007

ไก่ชน..ตอนที่สอง

By: ..หมอแก้ว

ไก่ชน..ตอนที่สอง

ตอนที่สอง .. ตรวจร่างกาย


ปัญหาแรกที่ผมพบเมื่อต้องรับรักษาไก่ชนตัวแรก ผมนึกไม่ออกว่าไก่ชนปกติควรเป็นอย่างไร และจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการที่เราตรวจอยู่คืออาการผิดปกติหรือไม่ เพราะลักษณะอาการปกติของไก่ชนต่างจากไก่บริโภคหลายประการ ด้วยความเป็นไก่นักกีฬาจึงมีลักษณะผิวพรรณและข้อปลีกย่อยต่างออกไป บางอย่างก็ถูกตัดแต่งศัลยกรรมโดยเจ้าของ ลักษณะที่ดูเหมือนผิดแต่กลับเป็นดี หรือเป็นลักษณะพิเศษ ก่อนที่หมอจะลงมือทำการตรวจใดใด ควรใช้การสังเกตและซักประวัติไปพรางก่อน เพราะไก่ที่แสดงอาการป่วยให้เห็นเด่นชัดแล้วมักจะเครียดและตายได้ง่าย การสังเกตจะช่วยให้วินิจฉัยเบื้องต้นได้ เช่น พฤติกรรม การสั่นหัว การยืนต้องมั่นคง สมดุล ปกติไก่ชนต้องยืนขาตรง อกตั้งชัน ปีกไม่ตก หน้าแดง ตาสดใส กรอกไปมา ตื่นตัวตลอดเวลา อัตราการหายใจอยู่ระหว่าง 20-25 ครั้งต่อนาที ไม่อ้าปากหายใจ ไม่ซึม ง่วงนอน หรือตาปิด ไม่มีอาการตกใจง่ายหรืออ่อนแรง ส่วนบั้นท้ายไม่สกปรกจากสิ่งขับถ่ายของตน หน้าสะอาด ไม่มีเสมหะ น้ำมูก ขนเป็นเงาจัดเรียงตัวเป็นระเบียบ ลักษณะของสิ่งขับถ่ายที่พบ โดยปกติสิ่งขับถ่ายของไก่จะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ปัสสาวะใส ไม่มีเลือดปน ยูเรตสีขาวถึงขาวเหลือง และอุจจาระ ซึ่งมีสีไปตามอาหารที่กิน การที่ปัสสาวะและยูเรตมีสีอื่นอาจจะหมายถึงการเกิดโรคได้ อุจจาระควรจับตัวกันเป็นก้อน หากเหลวและเละ จะเป็นอาการท้องร่วง หรือไม่ควรมีองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เช่น พบเฉพาะยูเรตสีขาวไม่พบอุจจาระเลยก็ไม่ดี การซักประวัติที่ดีจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่สำคัญ โดยเฉพาะสิ่งที่เจ้าของกังวลจึงได้นำไก่มาพบ ประวัติการรักษาที่ผ่านมา เพราะไก่ชนส่วนใหญ่มักจะผ่านการรักษาจากผู้เลี้ยงมาก่อนจึงจะมาพบหมอ ประวัติการเลี้ยง การให้อาหาร การอาบน้ำ การซ้อมไก่ ประวัติการเกิดโรคในฟาร์ม วัคซีน และการถ่ายพยาธิ นอกจากนี้ต้องทราบสภาพกรงเลี้ยงสามารถป้องกันแมลงได้ดีหรือไม่ สิ่งแวดล้อม ความหนาแน่นของการเลี้ยง แล้วที่ลืมไม่ได้คือระยะการฟักตัวของโรค เพราะระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแสดงอาการและอาการที่พบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง จะช่วยแยกแยะโรคที่วินิจฉัยเบื้องต้นไว้ได้

หลังจากสังเกตแล้วก็ค่อยทำการตรวจร่างกาย การควบคุมไก่ชนเพื่อตรวจควรให้เจ้าของมีส่วนร่วม รวบขาและล็อคปีกตรงหัวไหล่เพียงเบา ไม่ควรกดบีบที่อกเพราะจะทำให้หายใจไม่ได้ ส่วนใหญ่เจ้าของจะใช้วิธีโอบเบาๆซึ่งเจ้าของจะทราบนิสัยไก่ตนดี ไก่มักจะดูอาการว่าดีเสมอ เพราะมักจะเก็บซ่อนอาการไว้ หมอไม่ควรไว้วางใจ การตรวจร่างกายต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อลดความเครียด ทำการชั่งน้ำหนักเป็นกรัม คลำกล้ามเนื้อที่อกเพื่อประเมินความสมบูรณ์ ไก่ชนที่มีสุขภาพดีกล้ามเนื้อหน้าอกจะเต็มช่องของกระดูกหน้าอก (sternum) พอดี มักจะไม่นูนเกินกว่า หากนูนมากกว่าจะถือว่าอ้วนและอ้วนมาก หากลีบแหลมจนเห็นกระดูกโผล่ถือว่าผอม

ส่วนหัวไก่ จะสังเกตหน้าจะต้องแดงกร่ำ ไม่ซีด หากซีดมักพบในโรคที่ทำให้เกิดโลหิตจาง เช่น โรคติดเชื้อลิวโคไซโตซูน หงอนต้องแดง ส่วนใหญ่ไก่ชนที่นิยมต้องหงอนหน้าบาง กลางหงอนสูง และโคนติดหัวแน่น หน้าไม่บวม และเปรอะเปื้อนด้วยน้ำมูก ไก่จะไม่มีน้ำใสๆให้เห็นที่จมูกเหมือนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มักจะต้องแห้งหรือชื้นเล็กน้อย หากมีน้ำมูกใส จะบอกว่าเป็นอาการของโรคทางเดินหายใจได้ บางรายจะแห้งและแข็ง ให้สังเกตขนบริเวณเหนือจมูก ขนมักจะพันและแข็งจากน้ำมูกได้ ตาควรใส ไม่จมจากการขาดน้ำ เปลือกตาขาวไม่มีเส้นเลือดใหม่ ม่านตามีสีสม่ำเสมอตามสายพันธุ์ โพรงจมูกและโพรงไซนัสใต้ตาสมมาตร มุมปากไม่มีบาดแผล หรือตุ่มที่อาจเกิดจากโรคอมพนำ เปิดปากจะต้องเป็นสีชมพูไม่ซีด ไม่พบบาดแผล ช่องเพดานปากบน (choana) ไม่อุดตันหรือมีน้ำมูก เสมหะ ไม่พบบาดแผล ปากยังมีแรงงับ ส่วนหูต้องสะอาด ไม่บวม หากพบความผิดปกติของส่วนหัวมักเกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก การวินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไร ใช้อาการจากส่วนอื่นร่วม

ส่วนคอและตัว เจ้าของไก่มักจะมาพบด้วยอาการไก่เสียงเปลี่ยน ไอ การตรวจช่องหลอดอาหารและหลอดลม จากไฟฉายจะช่วยดูรอยโรคได้ดี เช่น ดอกขาว เป็นต้น ไม่ควรพบรอยโรค หรือการอักเสบแดง กล่องเสียงไก่และช่องเปิดเข้าหลอดลมจะสังเกตจากไฟฉายได้เช่นกัน กระเพาะพักต้องมีอาหารอยู่เสมอ ไก่ที่ป่วยมักจะพบว่ามีอาหารเหลืออยู่น้อยหรือไม่มี สามารถระบุว่าเบื่ออาหาร ไก่สุขภาพดีอาหารมักจะเต็มแต่ไม่ตึง กระเพาะพักจะบีบตัว 1-3 ครั้งต่อนาที หากไม่บีบตัวอาจเกิดจากตึงเกินไปหรืออาหารอุดตันกระเพาะพักที่เรียกว่า crop stasis หรือ crop impaction ต้องทำการรักษาต่อไปโดยการสอดท่อล้างกระเพาะพัก หรือการให้น้ำดื่ม ถัดจากกระเพาะพักจะสามารถจับคลำการเต้นของหัวใจได้ ทำการฟัง อัตราการเต้นของหัวใจไก่อยู่ระหว่าง 110-140 ครั้งต่อนาที ตื่นเต้นจะมากกว่าปกติ 2-3 เท่าได้ กล้ามเนื้ออกควรเสมอกระดูกอกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ช่องท้องจะสามารถสังเกตอัตราการหายใจได้ ไม่ควรกาง บวม ท้องมาน ปกติจะแฟบและเว้าเข้า ปกติจะต้องคลำไม่พบตับ แต่คลำพบกระเพาะแท้ได้ ทวารรวมจะเป็นที่รวมจาก 3 ท่อ ได้แก่ ท่อของทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์และทางเดินอาหาร ชั้นเยื่อเมือกต้องเป็นสีชมพู ชื้นและเรียบ ไม่โผล่ยื่น บวมแดง บั้นท้ายไม่ควรเปรอะเปื้อนด้วยสิ่งขับถ่าย ซึ่งมักพบได้ในโรคของระบบทางเดินอาหาร เช่น ซัลโมเนลโลซิส ที่จะเปื้อนด้วยสิ่งขับถ่ายสีขาว ผิวหนังควรเรียบ นุ่ม ไม่พบรอยช้ำ ไก่จะพบรอยช้ำเขียวหลังจากได้รับบาดเจ็บแล้ว 1-2 วัน มีความยืดหยุ่น หากขาดน้ำ ความยืดหยุ่นมักหายไป หนังมักจะพับและไม่คืนตัวง่าย

ส่วนปีก ขาและอุ้งเท้า ปีกควรเรียบเป็นเงา จัดเป็นระเบียบ ไม่พบรอยขีดตามขวาง ที่เรียกว่า stress bar ซึ่งเกิดจากความเครียด และสภาวะขาดโภชนาการ ซึ่งพบได้ในบางราย ไก่จะผลัดขนปีก 2-3 ครั้งต่อปี ข้อขาและข้อปีกไม่บวม ขาไม่บิดเข้าหรือบิดออก การจัดเรียงของเกล็ดหน้าแข้งจะแตกต่างกันในแต่ละตัว ไม่ถือว่าผิดปกติ อุ้งเท้าควรเรียบไม่บวมแดง นุ่มไม่แข็งกระด้าง นิ้วเท้าไม่คดงอหรือหัก ไม่เจ็บเวลาลงเท้า
Read more!

ตอนที่หนึ่ง .. ไก่ชนนั้น สำคัญไฉน








By: หมอแก้ว เจแปน


ตอนที่หนึ่ง .. ไก่ชนนั้น สำคัญไฉน


ในวัยเด็กของผม ผมมองเห็นว่าไก่เป็นของคู่บ้านจริงๆ แทบทุกบ้านจะเลี้ยงไก่บ้านไว้บริโภค และมีไก่ชนเลี้ยงไว้เพื่อชนในวันหยุด ภาพที่ชินตาตอนเช้า ก็จะเห็นเขาอาบน้ำไก่และซ้อมไก่ ไก่ตัวไหนเชิงดี รูปร่างสวย มีเกล็ดพิฆาตก็จะมีคนมาห้อมล้อม วิพากษ์วิจารณ์ เป็นการรวมกลุ่มนักเลงไก่ทีเดียว บางครั้งก็อาจจะมีการลองชนจริงเบาๆกับไก่เพื่อนบ้านพอเป็นพิธีเพื่อหยั่งเชิง ว่าไก่ตนพร้อมจะลงสนามใหญ่ได้ไหม เสียงไก่ขัน และควันจากเตาถ่านรวมทั้งไอน้ำต้มสมุนไพรจึงเป็นของคู่ชนบท จวบจนปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นก็ไม่ได้จางหายไป แต่กลับดูเอาจริงเอาจังยิ่งขึ้น จากเลี้ยงตามบ้านไม่กี่ซุ้มไก่ ก็กลายเป็นโรงเรือนมาตรฐาน มีการเพาะเลี้ยง พัฒนาสายพันธุ์ รวมทั้งการนำเข้าสายพันธุ์จากต่างประเทศเพื่อนบ้าน อย่างพม่า หรือเวียตนาม ราคาไก่ที่เคยซื้อขายอย่างง่าย หรือแลกเปลี่ยนกัน ก็กลายเป็นเรือนหมื่นเรือนแสน แสดงให้เห็นว่าการชนไก่ยังได้รับความนิยมอย่างไม่ได้ลดลงเลย แต่วิธีการดูแลไก่ก็ยังเป็นวิธีเดิม และดูจะเหมาะกับไก่นักกีฬาแบบนี้ หมอไก่ชาวบ้านที่เก่งๆ มีฝีมือก็ยังคงมีมาก การสืบทอดวิชาการดูแลไก่ก็ทำอย่างสืบทอดกันมา หรือไม่ก็ครูพักลักจำกัน เพราะใครๆ ก็หวงวิชาเหล่านี้ทั้งนั้น สนามชนไก่จะพบเห็นหมอเหล่านี้ได้ การกรีดเลือดช้ำ เย็บแผล อาบน้ำไก่ด้วยขมิ้นสมุนไพร ประคบช้ำ การต่อและตัดแต่งขนปีกเพื่อให้การบินเตะได้สูงและมีกำลัง เตะทีต้องเตะหน้า เตะคอ หรือเลือกเตะอกคู่ต่อสู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น การแต่งหงอนให้เล็กสั้นดูจะเหมาะในการชนหลายประการ ก็ดีกว่าเป็นเป้าเตะและปล่อยให้ช้ำแล้วก็มาแต่งกันทีหลัง การแต่งเดือย พันเดือยพันแข้ง การปั่นคอปั่นท่อน้ำตา เพื่อล้างขี้ตา เสมหะ หรือแม้กระทั่งไก่ที่เป็นโรคคอดอก ไอค็อกๆ ขันเสียงแหบหมดสง่าราศี ไม่สมเป็นไอ้โต้งใหญ่ ก็ต้องโดนปั่นคอเสียด้วยขนไก่นั่นแหละ ดูจะไม่เหมาะเท่าไรแต่ก็ทำให้ไอ้โต้งสบายคอไปได้พักใหญ่ หายใจคล่อง และในปัจจุบันก็มีการนำเครื่องมือแพทย์ รวมทั้งวิธีทางอายุรกรรมของแผนปัจจุบันมาใช้ผสมผสานในการรักษากันมากขึ้น จากที่เคยใช้สมุนไพร ก็เริ่มใช้ยาปฏิชีวนะมารักษาโรค ยาอะไรก็เป็นยาแก้อักเสบไปหมด พอไปเห็นเม็ดยาเข้า ก็ถึงบางอ้อ ยาแก้อักเสบที่ว่ามันก็คือ...นี่เอง หรือไม่ยาหนึ่งขนาน รักษาครอบจักรวาลได้เลยก็ยังมี เคยใช้กระเบื้องลนไฟประคบก็เปลี่ยนเป็นน้ำมันนวดสรรพคุณต่างๆ มีดเก่าๆลนไฟกรีดแผลก็เป็นมีดผ่าตัด ชุบแอลกอฮอล์ลนไฟ ไม่ว่าจะกรรไกร คีมจับก็อย่างที่หมอปัจจุบันใช้ทั้งนั้น ขืนทำไม่ดีอกไก่ช้ำแต่เดิมไม่นานก็กลายเป็นโรคปรวดน้ำ หนองเขอะ รักษากันอย่างยากลำบากในทีหลัง
การรักษาแบบแผนปัจจุบันโดยชาวบ้านก็มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ มีการศึกษาทำความเข้าใจกันมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเลี้ยงไก่ชนมีจำนวนมากขึ้น และเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง เจ้าของจึงมีความตระหนักในการป้องกันและรักษาโรคไก่ชนอย่างเหมาะสมมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจกับฟาร์มของตัวเอง สัตวแพทย์แผนปัจจุบันจึงเป็นทางเลือกอีกทางที่มีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน และสัตวแพทย์ที่สนใจด้านนี้ก็มีมากขึ้นเช่นกัน เพียงแต่ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร หาอ่านตำราเพิ่มเติมความรู้ได้ที่ไหน รวมทั้งการสื่อสารกับเจ้าของในศัพท์ไก่ชน เช่น โรคลงพื้น หน่อ คอดอก ปรวด อมพนำ ดูจะเป็นคำใหม่สำหรับเรา แต่ใช้ในวงการไก่ชนมานานแสนนาน จึงมีคำถามจากเพื่อนสัตวแพทย์มากมายว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร และควรจะจัดการแก้ไขอย่างไรดี ลองตามผมมาสิ ผมจะพาเราไปดูโลกของไก่ชนกัน.... (ติดตามตอนต่อไป)








Read more!

ข้อคำนึงการจับบังคับนก


ข้อคำนึงการจับบังคับนก


  • การจับนกขนาดเล็กมาก เสี่ยงต่อการช็อค ต้องเตรียม oxygen cage ที่เปิดให้ความเข้มข้นของออกซิเจนสูงเตรียมไว้เรียบร้อย หากปรับอุณหภูมิให้สูงได้ด้วย (ประมาณ 40 องศาเซลเซียส) ก็จะดีมาก อาจเอาถุงน้ำร้อนไปวางไว้ในกรงสักพักหนึ่ง ให้อากาศภายในอบอุ่นเสียก่อนจับ
  • อาจ modify ทำ oxygen cage จากตู้ปลาที่ไม่ใช้แล้ว กล่อง Tupperware หรือกล่องขนย้ายสุนัข โดยใช้พลาสติกใสปิดกันอากาศออก แล้วสามารถสังเกตอาการนกได้ เตรียมผ้าขนหนูมาปิดซ้ำเพื่อทำ visual barrier ไม่ให้นกเครียด
  • ใช้วัสดุที่ใช้แล้วทิ้ง หรือ ผ้าขนหนูหรือตาข่ายที่สะอาด ในการจับบังคับนกแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันการติดโรคข้ามตัว โดยการกระทำของสัตวแพทย์ เช่นโรคปรสิตภายนอก โรค PBFD โรคPox
  • ไม่ควรใช้ถุงมือหนังที่มีความหนายกเว้นเมื่อจับบังคับนกล่าเหยื่อ เพราะจะทำให้กะน้ำหนักมือไม่ถูก
  • การจับบังคับ ให้ทำในที่ที่ปลอดภัย หากเกิดกรณีนกหลุดปิดกระจก, 
    ปิดพัดลมเพดานและพัดลมดูดอากาศ
    และปิดประตู ไม่ควรทำกลางแจ้ง เพราะ หลุดแล้วหลุดเลย
  • การจับนกในกรงด้วยสวิง อาจทำได้โดย 1) ใช้สวิงครอบนกที่เกาะ ไม่หนีไปไหน 2) ใช้สวิงตามนกที่บินลงพื้น หรือ ผนังกรง (follow through) ประมาณว่า นกถึงพื้น สวิงตามไปภายใน 0.5-1วินาที หลีกเลี่ยงการวาดสวิงแรงๆเร็ว ขอบสวิงอาจตีนกได้ หรือ การยกสวิงดักนกที่บินอยู่กลางอากาศ นกอาจบินชนขอบสวิงได้
  • ขอบสวิงอาจบุฟองน้ำก่อน ชั้น เพื่อเพิ่มความนิ่มนวล นกขนาดเล็กควรใช้สวิงผ้าทึบ ดีกว่าสวิงตาข่าย
  • การจับนกในกรงที่ต้องเข้าไปจับ ควรมี คน ทำหน้าที่ไล่ กับทำหน้าที่ครอบนก คนสวิง ยืนรอแถวๆที่นกชอบบินมาเกาะ
  • การจับนกหลายตัว ให้เตรียมกรงพักนกเข้าไปด้วย จะได้ไม่งง จับให้หมดทีเดียว พักให้สงบ แล้วค่อยตรวจ-ปล่อยทีละตัว
  • อย่าลืมล้างสวิงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ทำให้แห้งก่อนนำไปใช้กับตัวใหม่
  • เตรียมอุปกรณ์ตรวจ รักษา เก็บตัวอย่าง  เตรียมซักซ้อมแผนให้พร้อมก่อนจับบังคับนก .ใช้เวลา
    แตะต้องนก ให้น้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้
  • จับให้แน่นเพื่อป้องกันการหลุดและการบาดเจ็บ แต่นกต้องสามารถที่จะขยับกระบังลมสำหรับการหายใจได้
  • รวบปีกและขามาให้ชิดตัวมากที่สุด ไม่ปล่อยให้ดิ้นเกะกะ เพราะขา หรือปีกอาจหักได้ง่ายๆ
  •           นกที่มีน้ำหนักมาก อย่าจับที่กระดูกต้นแขนเท่านั้น (แบบจับหิ้วปีกไก่) เพราะจะเกิดความเครียดที่หัวไหล่มาก ควรใช้มือประคองรับน้ำหนักจากทางด้านล่างของตัว
  • การจับบังคับจากกรงเล็ก ให้เอาคอน ถาดน้ำ-อาหารและของเล่นออกจากกรงให้หมดก่อน
  • ใช้ผ้าขนหนูเพื่อทำให้นกไปอยู่ที่ข้างใดข้างหนึ่งของกรง  เมื่อนกกัดกรง ให้จับนกด้านหลังของหัวด้วยมือที่หุ้มด้วยผ้าขนหนู อาจให้นกกัดผ้าขนหนูก่อน แล้วจับหัวจากข้างหลังของหัว
  • นก Psittacine และ Passerine ขนาดเล็กสามารถที่จะจับได้ง่ายๆถ้าแสงน้อยหรือปิดไฟ โดนอาจใช้ pen light ในการช่วยจับ
  •  

    เมื่อหัวถูกจับได้แล้ว สามารถเอานกจากกรงโดยเอาผ้าขนหนูหุ้มปีกและตีน
  • เมื่อจับนกได้แล้ว ให้จับบังคับด้วยการควบคุมปาก ปีก และตีน
  • การใช้ผ้าขนหนูทำให้ควบคุมปีกได้ง่ายขึ้น แต่อาจให้เกิดความร้อนและทำนกขนาดเล็กสามารถจับบังคับด้วยการจับหัวนกด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ และจับตัวด้วยฝ่ามือหรือนิ้วอื่นๆ
  • นกขนาดกลางสามารถจับบังคับด้วยจับขากรรไกรล่างด้วยนิ้วโป้งและนิ้วกลางและเอานิ้วชี้อยู่บนหัวนก มืออีกข้างจับปีกและขา และเพื่อป้องกันนกบิน ให้ห่อนกด้วยผ้าขนหนูหรือจับไว้ใกล้ๆกับตัวคนจับ
  • การจับนกปากขอที่ร้องดัง อาจสวมที่ปิดหูกันเสียง ที่อุดหู (ซื้อตามร้าน hardware ได้) หรือใช้นิ้วมือดันระหว่าง mandible ramus เข้าไปในช่องปากจากภายนอก ให้ลิ้นและ larynx สูงติดเพดานบน
  • นกขนาดใหญ่สามารถจับบังคับด้วยการจับหัวบริเวณใต้ปาก ลำตัวสามารถหุ้มด้วยผ้าขนหนู และ อุ้มไว้ในวงแขนของผู้จับ เพื่อควบคุมปีก
  • นก Toucans สามารถจับบังคับโดยการใช้ผ้าขนหนูหรือตาข่าย เหมือน Psittacine โดยลำตัว ปีก และเท้าต้องถูกจับบังคับ จับปากให้แน่นหรือใช้เทปพันไว้เพื่อป้องกันการกัด ใช้มือหนึ่งจับปาก อีกมือจับลำตัวและปีก ไม่ควรจับ Toucan ที่หัวและคออย่างเดียว
  • เมื่อจับบังคับนกล่าเหยื่อเล็บเป็นอาวุธที่จะทำให้บาดเจ็บได้ ใช้ผ้าขนหนูปิดตา และจับขาด้วยมือที่ใส่ถุงมือแล้ว จากนั้นจับบังคับหัวและปีก ผ้าคลุมหัวอาจช่วยได้ในนกที่กระวนกระวาย อาจทำ ball bandage ที่เท้าระหว่างการตรวจ แต่นกบางชนิด เช่น นกอินทรีย์และนกฮูกสามารถใช้ปากกัดได้
  • การจับบังคับนกน้ำ ทำได้โดยใช้ตาข่ายหรือทำให้นกอยู่ที่มุม การจับทำได้โดยจับที่โคนปีก และมืออีกข้างประคองลำตัว แล้วรวบตัวและปีกไว้ในวงแขน ใช้มือจับขาในท่าพับขาติดตัว
  • การจับนกเงือก ให้จับปากก่อนโดยการจับจากด้านบนลงมา ยกมือสูงกว่าปาก วาดมือลงมารวบปากไว้ อาจใช้วิธีล่อให้งับไม้พันผ้านุ่มๆก่อน
  • เมื่อควบคุมนกได้แล้ว ให้ประเมินสภาพเสี่ยงก่อนอื่นโดยดูที่ 1) สีของเยื่อชุ่ม หากซีด หรือ ม่วง จะจับได้ไม่นาน  2) ความชุ่มชื้นของเยื่อชุ่ม หากแห้ง นกอาจเสี่ยงต่อภาวะ dehydrate ได้ง่าย 3) ความสมบูรณ์ (อ้วน-ผอม) ของร่างกาย หากผอมหรืออ้วนมาก อาจเสี่ยงต่อภาวะ hypoglycemia 4) หากนกอ้าปากหายใจ คอพับ หรือ หลับตา แสดงว่านกเหนื่อยมาก ให้รีบปล่อยเข้าoxygen cage หรือกรงพัก
  • สูตรของ Aussie หาก จะจับนกมาทำอะไรนานๆ เขาจะให้สารน้ำที่มีพลังงานสูงทาง stomach tube แล้วพักรอให้ดูดซึม ในปริมาณไม่มาก แต่เข้มข้น (มี commercial preparation ) ประมาณ 15-30 นาที ก่อนจับ
  • นกสามารถช็อคตายภายในเวลา 1-2 นาที
  • ภาวะช็อคของนก เกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ 1) hypoxic shock ถูกบีบแรง หายใจไม่ออก หรือ ตื่นเต้นมาก หายใจไม่ทัน ไล่จับนานเกินไป หรือมีภาวะanemia อยู่ก่อน 2) hypoglycemic shock เนื่องจาก ตื่นเต้นมาก ใช้น้ำตาลในเลือดหมดไปอย่างเร็ว ในรายนกผอม หรือ อ้วนมาก อาจเกิด hypothermia 3) hypovolumic shock ในรายที่ไม่ได้รับน้ำ-อาหารนานๆ มีภาวะdehydrate อยู่ก่อน ให้ rehydrate ก่อน 4) hyperthermia จากการจับในวันที่อากาศร้อน ห่อผ้าขนหนูหนา หายใจไม่ค่อยออก 5) neurogenic shock ตื่นกลัวมากๆ
  • การแก้ไขภาวะที่นกหายใจขัดจากการจับบังคับ ทำได้โดยเอานกไปไว้ใน oxygen cage ที่เตรียมไว้ก่อน นกขนาดเล็ก (<50 กรัม) ที่อ้วนและได้รับอาหารที่ไม่ดีและไม่เคยถูกจับบังคับมาก่อน อาจจะตายจากการจับบังคับได้ ต้องบอกเจ้าของก่อนที่จะจับบังคับนกว่ามีความเสี่ยง
  • นกบางชนิด ขนหลุดง่าย เช่น กลุ่มนกเขา ต้องบอกเจ้าของก่อน เดี๋ยวจะตกใจเกินไป
  • การทำให้นกปล่อยปากเมื่อโดนกัด ทำได้โดยบีบที่หน้า บีบที่โคนปาก ถ้านกยังไม่ปล่อยให้ปล่อยนกจากการจับ การใช้แรงจับเปิดปากอาจทำให้ปากนกได้รับบาดเจ็บได้
  • ตัวอย่างการจับนกกินปลีขนาด 15 กรัม อาจจะต้องจับ พัก จับ-พัก ในตู้ออกซิเจนถึงสามรอบกว่าจะตรวจร่างกาย และ เก็บตัวอย่างได้ พักครั้งละประมาณ นาที ดูจนกว่านกปิดปากหายใจ

 

       



 



By: อ.สพ.ญ.รศชงค์ บุญฤทธิชัยกิจ, อ.น.สพ.รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์


Read more!

สรุป สถานการณ์ไข้หวัดนกย้อนหลัง 3 waves ใน non-domestic species

By: อ.น.สพ.รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์


สรุป สถานการณ์ไข้หวัดนกย้อนหลัง 3 waves ใน non-domestic species

ภาพรวม สัตว์ที่พบเป็นบวกต่อเชื้อ Flu A, H5N1

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ถ้าไม่นับสุนัข แมว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่นๆที่พบเป็นบวกจากการแยกเชื้อได้แก่ เสือโคร่ง เสือดาว เพียงพอนเล็ก และที่สงสัยว่าเป็นบวก โดยพบจากการตรวจ test kit ต่อ flu A ได้แก่ เสือโคร่ง และ เสือลายเมฆ สัตว์ที่พบ sero positive ได้แก่ เสือไฟ ข้อสังเกตคือ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์สวนสัตว์ที่กินไก่ที่มีเชื้อ และเรายังมีการศึกษาในสัตว์กลุ่มที่เป็น scarvenger ต่อซากไก่ เวลาระบาดน้อยไป ที่จริงอาจพบได้ เช่น ในcase สุนัข และแมวบ้าน

สัตว์ปีก 25 ชนิด

ข้อสังเกตของกลุ่มชนิดนกที่พบเป็นบวก คือ
1. กลุ่มนกปากห่าง ที่พบจำนวนมาก พบในหลายครั้ง (ช่วงเวลา) ที่เก็บ
2. นกที่ share habitat กับนกปากห่าง
3. นกที่อาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ
4. นกที่อาศัยเป็นกลุ่มฝูง มีประชากรหนาแน่น
5. นกที่มีพื้นที่หากินซ้อนทับกับสัตว์บ้านที่พบเป็นบวก (เป็ดไล่ทุ่ง, เล้าไก่)
6. นกที่อพยพมาจากพื้นที่ที่เป็น hot spot
7. นกในสวนสัตว์ที่มี การจัดการ biosecurity ไม่ดี
8. นกลักลอบนำเข้า (พบเป็นบวกโดยด่าน EU)
9. นกที่ติดโรคโดยบังเอิญ

ข้อสังเกต กรณีนกปากห่าง
1. นกปากห่างอาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ จากการศึกษาพบว่าน้ำใต้ colony นกปากห่างสามารถติดเชื้อไข่ฟักได้ และจากการเก็บในห้องทดลอง สองอาทิตย์ ยังสามารถติดเชื้อไข่ฟักได้
2. นกปากห่างกินหอยเชอรี่ จากการศึกษาของ อ.อรุณีพบว่า เชื้อจะไปจับตัว ( มี affinity ) กับเมือกของหอย ทำให้เพิ่ม dose และเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อ
3. นกปากห่างทำรังแบบหลายชั้นไปบนต้นไม้ หากชั้นบนเป็นบวก ก็มีโอกาสสูงที่ถ่ายมูลมาทำให้รังชั้นล่างปนเปื้อนเชื้อได้ เมื่อเปรียบเทียบกับนกพิราบทำรังบนชายคาคอนกรีท เชื้อจะแห้งตาย และมีโอกาสน้อยกว่าที่จะถ่ายเชื้อให้รังอื่นที่ต่ำลงมา
4. นกปากห่างมีพื้นที่หากินซ้อนทับกับเป็ดไล่ทุ่ง

ข้อสรุป ส่วน virology
· Route of infection ยังคงเป็น feco-oral route และ high concentration fomite ยังไม่มีหลักฐาน aerosol
· การติดจากคนสู่คนมีแล้ว ที่เวียดนาม แต่เป็นแบบเฝ้าไข้ใกล้ชิด
· เชื้อที่พบยังไม่มีการกลายพันธุ์ ที่ทำให้เกิดการติดจากคนสู่คนได้ง่ายๆ
· เชื้อที่พบ บางกรณีมีการดื้อยา Tamiflu แต่ส่วนใหญ่ ยังไม่ดื้อต่อยา Tamiflu

คำถามที่มักถูกถาม


1. นกอพยพนำโรคมาหรือไม่
1.1. ตั้งแต่ wave แรก เวลาการเกิดโรค ไม่สอดคล้องกับการอพยพมาของนก
1.2. การกระจายตัวของโรคและพื้นที่ ลุกลาม เป็นไปตามทางรถ ใน wave แรก และ wave สอง กระจายไปตามการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง
1.3. จากการศึกษาของ อ. อรุณี คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล ด้าน phylogeny พบว่า wave แรกมีความสัมพันธ์ ทาง genetic แต่หลังจากนั้น virus ที่ isolate มาได้จากนกปากห่างไม่ได้มีความสัมพันธ์กับ เชื้อที่ isolate ได้จากไก่บ้านใน wave สองและสาม ( พื้นที่ จ.สุพรรณบุรี )

2. นกป่านำโรคหรือไม่
2.1. ตามข้อ 1.3 ข้อสรุปของ อ.อรุณี สรุปว่าในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี นกปากห่างเป็น reservoir ที่พร้อมจะถ่ายเชื้อให้สัตว์บ้าน แม้ว่ายังไม่เกิดขึ้น
2.2. ปัจจุบัน ใน case ที่พบ ล่าสุดช่วงหลังๆ เชื้อที่ isolate ได้ ยังไม่มีตัวไหนที่มี strain เหมือนเชื้อที่แยกได้จากทะเลสาบ ชิงไห่ ประเทศจีน

3. เรามองข้ามอะไรไปบ้าง
3.1. ประเทศไทยยังขาด การทำสำรวจต่อเนื่อง (active surveillance) ที่ครอบคลุมพื้นที่เฉพาะ ในเวลาที่แน่นอน เพื่อทราบการมาถึงของโรค ความสัมพันธ์ของโรคระหว่างสัตว์ป่ากับสัตว์บ้าน และ พลวัตการเกิดโรคในประชากรสัตว์ป่า (disease dynamics, fate of diseased population)
3.2. สัตว์ที่อาศัยร่วม habitat กับ สัตว์ที่เป็น positive โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่นก เช่น scavenger, หอยทาก
3.3. การระบุชนิด host ยังหยาบ มักใช้คำรวมว่า นกน้ำ หรือ นกอพยพ ที่จริงแล้ว ควรลงไปถึง species เช่น กรณี ห่านที่เกาะอังกฤษ การ identify species ผิด ระหว่างหงส์ resident กับ หงส์ migratory มีความต่างของระบาดวิทยามาก
3.4. การควบคุม เฝ้าระวังสัตว์ และ infected material อื่นๆด้วย เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มูลไก่ และ การตกค้างในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสียที่ระบายจากฟาร์มที่เป็นบวก
3.5. ผู้ล่า และ ตัวกินซาก ที่อาจได้รับเชื้อจากไก่ หรือ สัตว์ที่ตายจากโรค
3.6. ระบบนิเวศน์ ตรงที่ที่เกิดการระบาด และ การประเมินผลกระทบเชิงนิเวศ ตลอดจนวัฏจักรสารในพื้นที่
3.7. การเฝ้าระวัง H อื่น N อื่น ที่อาจเป็นต้นเค้าของการกลายพันธุ์
3.8. co-infection ที่อาจเสริมการระบาด เช่น โรคมาเร็กซ์ โรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ
3.9. ผลกระทบจากการใช้วัคซีน

การระบุชนิด และกลุ่มนกที่น่าจับตา (Hot species)
· นกปากห่าง
· นกที่อาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ
· นกที่อาศัยอยู่หนาแน่น
· นกที่ทำรังเป็นชั้นๆ
· นกที่มีพื้นที่หากินซ้อนทับสัตว์บ้าน
· นกที่หากินเป็นฝูงใกล้บ้านคน หรือ ชุมชน

การระบุพื้นที่ที่น่าจับตา (Hot area)
· พื้นที่ช่องทางเข้า ของนกอพยพ ที่นกใช้พักหากินตอนเข้าประเทศ
· พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีประชากรนกอาศัย หากิน ขยายพันธุ์ อย่างหนาแน่น
· พื้นที่ที่สัตว์ป่า หากินซ้อนทับสัตว์บ้าน
· ฝูงที่หากิน ขยายพันธุ์ หนาแน่น ใกล้ที่อาศัยของคน
· พื้นที่สำคัญในการอนุรักษ์นก Important Bird Area, IBA
Read more!

การเก็บเลือดนก

การเก็บเลือดนก (Blood collection)

การเก็บเลือดนก เรื่องควรรู้เกี่ยวกับตรวจเลือดนกการตรวจเลือดในนกมีความสำคัญการในวินิจฉัยโรคและพิจารณาแนวทางการรักษานกโดยเฉพาะในธรรมชาติจะพัฒนาการเกิดโรคแต่ มักจะไม่แสดงอาการทางคลินิกเพื่อไม่ให้สัตว์ผู้ล่าสังเกตพบว่าป่วย นกเลี้ยงก็เช่นกันมักไม่ค่อยแสดงอาการป่วยให้เห็นจนกว่าอาการจะรุนแรงการวินิจฉัยโรคโดยมีผลทางห้องปฏิบัติการประกอบจะช่วยการพิจารณาแนวทางการรักษาให้ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ ขณะที่นกยังแสดงอาการไม่ มากหรือยังไม่แสดงอาการหากทิ้งระยะเวลาไว้นานอาจเป็นผลให้นกเสียชีวิตได้เนื่องจากได้รับการรักษาไม่ทันควรตรวจ ทุกอย่างที่จำเป็นต่อการวินิจฉัยทั้งนี้ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของโดยสัตวแพทย์ควรจะชี้ แจงรายละเอียดทั้งหมดให้ เจ้าของทราบเพื่อใช้ในการตัดสินใจ


การเก็บตัวอย่างเลือดอุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่

- กระบอกฉีดยา (syring)
- capillary tube หรือ microcontainer collection system
- เข็มที่ใช้ได้ตั้งแต่เบอร์ 23 ถึง 27 gauge

เวลาเก็บเลือดควรค่อยดูดเลือดเข้ากระบอกฉีดยาอย่างช้าๆ เนื่องจากหลอดเลือดดำของนก collapse ได้ง่าย เลือดที่นำมาทำ blood smear ไม่ควรใช้สารกันแข็ ตั เนื่องจาก heparin จะมีผลต่อการย้อมสี EDTA จะทำให้เม็ดเลือดบางชนิดแตก แต่หากไม่สามารถ smear เลือดได้ทันทีหลังเก็บตัวอย่าง อาจใช้ lithium heparin เป็นสารป้องกันการแข็งตัวในนก ซึ่งโดยรวมดีกว่าแต่มีนกบางชนิดที่ EDTAให้ผลดีกว่า ดังนั้นในนกที ไม่เคยทราบค่าเลือดพออาจใช้ทั้ง EDTA และ heparin มีหลายตำแหน่งที่ เราสามารถใช้เก็บเลือด ได้แก่ การเจาะเลือดดำที่ขา (median metatarsal bone), หลอดเลือดดำที่ปีก cutaneous ulnar vein, jugular vein และการเก็บเลือดจากการตัดปลายเล็บให้เลือดออก toenail clip

การเก็บตัวอย่างเลือดจาก jugular vein


การเก็บตัวอย่างจากหลอดเลือดดำขนาดใหญ่อย่าง jugular vein นั้นสามารถเก็บเลือดปริมาณมากได้ ข้อดีอีกประการของการเก็บตัวอย่างเลือดจาก jugular vein คือโอกาสที่จะเกิด hematoma น้อย ในนก jugular vein ข้างขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าข้างซ้ายอย่างมีนัยสำคัญ การเก็บตัวอย่างเลือดจาก jugular vein สามารถทำได้ในนกทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่นกขนาดเล็กอย่างนกหงษ์หยกหรือนกครีบูน แต่อาจทำได้ยากในนกพิราบ และนกเขาเนื่องจากหากเลือดไหลมากกว่าปกติหลังจากการ เก็บตัวอย่างเลือดอาจบ่งถึงพยาธิสภาพที่ตับ การเจาะเลือดจาก jugular vein จำเป็นต้องมีผู้ช่วยจับบังคับ แต่ในนกขนาดเล็กอาจสามารถทำคนเดียวได้ โดยใช้มือหนึ่งจับที่บริเวณหัวและใช้อีกมือเจาะเลือดขณะเจาะให้ ยืดคอออกไปด้านหน้าเพื่อให้หลอดเลือดอยู่กับที ไม่เคลื่อนไปมาโดยง่าย ใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาดขนบริเวณนั้นและเป็นตัวช่วยให้มองเห็นหลอดเลือดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจจะต้องขยับ crop ออกจากตำแหน่งเดิมเพื่อให้การเจาะเลือดทำได้สะดวกขึ้น เข็มที่นิยมใช้คือขนาด 25 gauge ร่วมกับ syringe ขนาด 1 มล. หรือ 3 มล. สามารถสอดเข็มไปได้ทั้ง 2 ทิศทาง ควรกดหลอดเลือดที่บริเวณทางเข้าช่องอก (thoracic inlet) เพื่อให้หลอดเลือดถูกกักอยู่ที่บริเวณคอ หลังจากเจาะเลือดเรียบร้อยแล้วให้กดเบา ๆ ที่ บริเวณที่ เจาะเลือด เพื่อป้องกันการเกิด hemotoma สำหรับ jugular vein ข้างซ้ายอาจมีขนาดเล็ก แต่บางครั้งก็สามารถใช้เป็นตำแหน่งในการเจาะเลือดได้ การเก็บตัวอย่างจากหลอดเลือดที่ ปีกในนกที่มี ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ อาจทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำที่ปีกได้นกจะต้องถูกบังคับให้ อยู่นิ่งโดยปีกข้างหนึ่งถูกกางออก เอาแอลกอฮอล์ เช็ดบริเวณข้อศอกด้านใน เพื่อให้เห็นหลอดเลือดชัดเจนยิงขึ้นอาจดึงขนที่ปกคลุมเส้นเลือดออกสองสามเส้นเมื่อเจาะเลือดเสร็จควรกดบริเวณนั้นเพื่อป้องกันการเกิด hemotoma ควรกดเส้นเลือดให้นานที่สุดเท่าที่ นกจะไม่เครียด อย่างไรก็ตาม การเก็บตัวอย่างเลือดจากตำแหน่งนี้มีโอกาสที่จะเกิด hemotoma ง่ายแม้ว่าจะทำอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม

การเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดที่ขา


หลอดเลือด matatarsal vein จะอยู่ที่บริเวณ dorsomedian leg ใกล้ ๆกับ tarsal joint เพื่อให้เห็นหลอดเลือดให้ชัดเจนให้ ทำการกดเบาๆ ที่ด้านหน้าตำแหน่งที่จะทำการเจาะเลือดหลังจากถอนเข็มออกให้กดบริเวณนั้นเพื่อลดโอกาสเกิด hemotoma อย่างไรก็ตาม การเกิด hemotoma บริเวณนี้เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการเจาะเลือดจากหลอดเลือดที่ปีกและขาจำเป็นต้องใช้เวลานาน ดังนั้น จึงไม่แนะนำในกรณีนกที่อ่อนแอและเกิดภาวะ stress การเก็บตัวอย่างจากเล็บตีนนก วิธี toenail clip มี ข้อดี คือ ทำได้ง่ายแต่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และตัวอย่างเลือดมีโอกาสปนเปื้อนได้ง่ายจากอุจจาระและเศษอาหารที่ติดอยู่ตามขนบริเวณนั้นการเก็บตัวอย่างเลือดโดยวิธีนี้เลือดจะค่อยๆ ไหลอย่างช้าๆ นอกเสียจากว่าเราตัดสั้นมากๆ (ขณะเก็บเลือดไม่ควรรีดหรือบีบเพื่อเร่งให้เลือดออกเพราะจะทำให้ตัวอย่างเลือดที่ได้มีเม็ดเลือดแดงแตก)หลังจากการเก็บตัวอย่างเลือดแล้วอาจทำการห้ามเลือดด้วย silver nitrate หรือ ferrous sulfate สัตวแพทย์บางคนอาจเก็บตั วอย่างเลือดด้วยวิธีนี้เนื่องจากเป็นวิธีที่มี complication น้อยที่สุด แต่วิธีนี้ก่อให้เกิดความเจ็บปวด นกอาจไม่ใช้ตีนนั้นในการเกาะคอนช่วงเวลาหนึ่ง จึงแนะนำให้ใช้ วิธีนี้เฉพาะกรณี ที่ต้องการเลือดจำนวนน้อยเท่านั้น

การตรวจนับเม็ดเลือด (Complete blood count)


เป็นการตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในเลือด เม็ดเลือดแดงของนกจะมีขนาดใหญ่ และมีอายุสั้น (24-25 วัน) นั่นหมายถึงว่าจะมีการสร้างเม็ดเลือดใหม่ทุก 4-6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในกรณีที่ นกตัวนั้นเสียเลือดจำนวนมาก ค่า PCV ในจะอยู่ประมาณ 37-50% โดยนกอายุน้อยจะมีค่าค่อนข้างต่ำ ถ้าค่า PCV น้อยกว่าช่วงปกติ (37%) อาจพิจารณาได้ว่านกตัวนั นโลหิตจาง (anemia) ถ้าค่าต่ำกว่า 15% อาจต้องให้เลือด ที่ PCV หรือ RBC ลดลงหรือค่าทางโลหิตวิทยาที่บ่งบอกว่าเกิดภาวะโลหิตจาง (anemia) ในนกส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสียเลือด การเพิ่มการทำลายเม็ดเลือด และการลดการสร้างเม็ดเลือดแดง สาเหตุของการเสียเลือดอาจเพราะเกิดบาดแผล หรือได้รับสารพิษที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น coumarin เป็นต้น ส่วนสาเหตุของการสร้างเม็ดเลือดน้อยลง ได้แก่ การเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ปัญหาเกี่ยวกับอาหารการได้รับสารพิษบางชนิดและปัญหาเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อหรือสาเหตุของการเพิ่มการทำลายเม็ดเลือดอาจมาจากพยาธิเม็ดเลือด ได้แก่ Plasmodium sp., Haemoproteus sp. เป็นต้น พยาธิในเม็ดเลือดนก (Blood parasite) Haemoproteus sp. : สามารถพบ gametocyte state เป็นลักษณะสีเหลืองออกน้ำตาลที่ ในไซโตพลาซึมของเม็ดเลือดแดง และเบียดนิวเคลียสให้เคลื่อนไปจากตำแหน่งปกติ macrogametocyte จะย้อมติดสีน้ำเงินและ microgametocyte จะย้อมติดสีฟ้าหรือชมพูและมี pigment granule สีเหลืองอยู่ภายใน Leucocytozoon sp. :ระยะ gametocyte จะมีรูปร่างกลมจนถึงวงรี ขนาดใหญ่ ไม่มี granule อยู่ภายใน บางครั้งอาจมีหางพบในไซโตพลาซึมของเม็ดเลือดแดงที่มีอายุน้อย เม็ดเลือดแดงที่มี Leucocytozoon อยู่ข้างใน จะมี ขนาดใหญ่กว่าปกติ และมีนิวเคลียส 2 อันซึ่งอันหนึ่งเป็นของเซลล์เม็ดเลือดแดงเอง และอีกอันเป็นของ Leucocytozoon, Plasmodium spp. : สามารถพบระยะ schizont trophozoites และ gametocyte ในเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและ thrombocyte gametocyte จะมี pigment granule สีเหลืองอยู่ภายใน และมักเป็นสาเหตุให้นิวเคลียสของเม็ดเลือดแดงถูกเบียดไปอยู่ด้านข้าง trophozoites จะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก และมี vacuole สำหรับระยะ schizonts จะมีสีม่วงเข้มรูปร่างกลมๆ หรืออาจเป็นรูปไข่ Toxoplasma sp. : มี รูปร่างกลม หรือบางครั้งอาจเป็นรูปไข่ สามารถพบใน cytoplasm ของ lymphocyte และ monocyte ทำให้นิวเคลียสของโฮสต์มีรูปร่างเป็นเสี้ยวพระจันทร์ Microfilaria larva: สามารถพบได้บ่อยในนกประเภท Psittacine จำนวนเม็ดเลือดขาวในนกบอกถึงระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถ้าจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติเป็นตัวบ่งบอกว่านกตัวนั้นป่วยสาเหตุของการที่ heterophil (เทียบเท่ากับ Neutrophil ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม) มากกว่าปกติอาจเป็น เพราะนกตัวนั้นอยู่ในภาวะเครียด ติดเชื้อ ได้รับสารพิษบางชนิด หรือเป็น metabolic disease ในนกแก้วอายุน้อย (น้อยกว่า 6 เดือน) จำนวนเม็ดเลือดขาวอาจจะสูงกว่าในนกที่โตเต็มที่ จำนวนเม็ดเลือดขาวที่น้อยกว่าช่วงปกติ อาจจะบ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อไวรัสในกระแสเลือด (viremia) ได้รับสารพิษบางชนิดได้รับยาพวกสเตรียรอยด์ การเกิดภูมิคุ้มกันต่อร่างกายตัวเอง (autoimmune disease)

ค่าเคมีโลหิต (Plasma Biochemistry)


Creatine kinase เอนไซม์ตัวนี้จะอยู่ที่กล้ามเนื้อ และการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ในพลาสมาบ่งบอกว่ามี muscle injury อาจมีสาเหตุจากการกระแทกการฉีดยาภาวะ muscle wasting ขาดวิตามิน E และซีลีเนียม หรือพิษจากตะกั่ว นกพิราบสื่อสารอาจมีปริมาณเอนไซม์ตัวนี้ค่อนข้างสูง


Aspatate amiotransferase (AST) แม้ว่าค่า AST จะไม่เฉพาะเจาะจง กับการทำงานของตับ แต่เราก็ใช้ปริมาณ AST เป็นตัวบ่งชี ภาวะของตับในนก ค่าปกติจะอยู่ที่ AST ควรทำคู่ไปกับค่า CPK จะมี half life สั้นกว่าค่า AST และมีโอกาสกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วกว่า AST


Uric acid เป็น Nitrogenous waste product ที่สำคัญในนก การเพิ่มขึ้นของ uric acid ในเลือดบ่งถึงความเสียหายของไต ไม่นิยมตรวจ BUN และ creatinine เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเนื่องจากค่าที่ได้ไม่สัมพันธ์กับสภาพของไตในนก


Blood glucose ในนกจะมีปริมาณกลูโคสในพลาสมาสูงกว่าในสุนัขและแมวและสูงมากในภาวะเครียด ในนกไม่ค่อยพบว่าเป็นเบาหวานนอกจากตรวจพบว่ามีความเข้มข้นของกลูโคสในเลือดสูงกว่า 900 mg% เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่วนภาวะที่มีกลูโคสต่ำกว่าปกตินั้น มีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารได้รับอาหารที่มีคุณภาพไม่ดี โรคตับ เกิดเนื้องอกหรือภาวะ aspergillosis นกบางชนิดนั้นสามารถทนได้กับภาวะขาดอาหารได้นาน โดยไม่เกิดภาวะ hypoglycemia อย่างรวดเร็วเมื่ออดอาหารได้ไม่กี่วัน นอกจากนี้ ภาวะเป็นพิษจากวิตามิน A (vitamin A toxicity) การได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูงและอาหารที่มียูเรียมากก็สามารถทำให้เกิดภาวะ hypoglycemia ในนกได้เช่นกัน ถ้าพบว่าปริมาณกลูโคสในเลือดต่ำกว่า 150 mg% อาจบ่งถึงภาวะที่อันตรายถึงชีวิต


แคลเซียม ปริมาณแคลเซี่ยมของนกในพลาสมาส่วนใหญ่ จะอยู่ใน ช่วงปกติ (8-12 mg%) นอกจากนกตัวนั้นอยู่ในภาวะ calcium deficiency ซึ่งวินิจฉัยได้จากภาพถ่าย x-ray และอาการแสดงทางคลินิก เช่น weakness สาเหตุที่นกอยู่ในภาวะขาดแคลเซี่ยม คือ อาหารที่มีคุณภาพไม่ ดีหรืออยู่ในช่วงวางไข่ African greyparrots เป็นนกที่มีความไวต่อ hypocalcemia มากโดยเมื่อความเข้มข้นของแคลเซียมในพลาสมาลดลงนกจะแสดงอาการอ่อนแรงและชักความเข้มข้นของแคลเซี่ยมในเลือดที่สูงขึ้นกว่าช่วงปกติอาจมีสาเหตุมาจากภาวะการเป็นพิษจากวิตามิน D เกิดเนื้องอกของกระดูก ภาวะ hyperparathyroidism นอกจากนี้ในนกเพศเมียที่อยู่ในช่วงวางไข่ก็มีค่าความเข้มข้นของแคลเซีjยมในพลาสมาสูงเช่นกัน โดยอาจสูงถึง 25 mg%


Total protein ค่าปกติในนกนั้นจะน้อยกว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมประมาณครึ่งหนึ่ง (3.0-5.5 mg%) วิธีการตรวจความเข้มข้นของ albumin ที่ใช้โดยทั่วไปมักไม่ได้ผลในนกผลที่ได้ จากการตรวจโดยห้องปฏิบัติการทั่วไปมักไม่แม่นยำวิธีที่เหมาะสมในการตรวจปริมาณ albumin และ globulin ในเลือดนก คือวิธี electrophoresis

  • Plasma protein electrophoresis วิธีนี้สามารถแบ่งโปรตีนออกเป็น 5 fraction ได้แก่ prealumin, albumin, alpha-globulin, beta-globulin และ gammaglobulin ค่าทีได้จะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละ species และในบาง species จะไม่มี prealbumin หรือถ้ามีก็น้อยมากค่า alpha และ beta-globulin หมายถึง การอักเสบอย่างเฉียบพลัน (acute inflammation) ภาวะร่างกายติดเชื้อรา (systemic mycoses) ส่วน gamma-globulin หมายถึง immune gloulin การเพิ่มขึ้นของ beta และ gamma-globulin แสดงว่ามีการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น ภาวะ Aspergillosis, psittacosis หรือ mycobacteriosis อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือบางครั้งอาจเป็นเพราะเนื้องอกบางชนิด การมี gamma-globulin น้อยกว่าปกติ อาจหมายถึง immunodeficiency state วิธี electrophoresis เป็น screening test ที่ มีประโยชน์ มาก ในการตรวจ และติดตามผลการตอบสนองต่อการรักษาในนกป่วย


Bilirubin ไม่ค่อยมีประโยชน์ในนกเนื่องจากไม่ค่อยพบนกที่เป็น ดีซ่าน นกไม่มีเอนไซม์ที่เปลี่ยน biliverdin เป็น bilirubin ในนกที่เป็นโรคตับจะมีปริมาณ biliverdin สูงขึ้น biliverdin มักจะไม่สะสมในร่างกายแต่จะขับทิ้งรวดเร็วทางไต ทำให้เกิด urate สี เขียว/เหลือง พร้อมกับของเสียอื่น ๆ

Bile acid ใช้ในการตรวจสภาพของตับในนกจำพวก Psittacine ส่วนใหญ่จะมีค่าน้อยกว่า 100 umol/l ถ้าพบว่ามีค่าสูงกว่า 150-200 umol/l แสดงว่ามีการทำงานที่ผิดปกติของตับการตรวจอาจมีค่าคลาดเคลื่อนจากค่าที่แท้จริง ถ้ามีการปนเปื้อนไขมันในเลือด หรือมีการแตกของเม็ดเลือดแดง

เอกสารอ้างอิง

Dorrestei GM. Cytology and Haematology In:Manual of Psittacine Birds.

Beynon (ed.).1996. BSAVA. P 38-48

Rupley AE. Clinical PATHOLOGY In: Manual of Avian Practice. Rupley AE(ed.).1996.

W.B.Sauder. P345-402 Hoefer HL.Basic Avian Blood Testig.http://home.tt.net/~hhoefer/avianblood-test.htm

Read more!

การวางยาสลบในนก (ต่อ)

โดย อ.น.สพ.เฉลิมชาติ สมเกิด

การวางยาสลบในนก (ต่อ)

ระดับของการวางยาสลบ


ให้ประเมินดูว่ามีการสูญเสีย righting reflex ระดับและความลึกของการหายใจที่เป็นปรกติ โดยที่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของระดับสัตว์ที่ปรกติ ในระยะที่สลบลึกปานกลางตามักจะหลับแต่ corneal reflex ยังปรกติอยู่ โดยดูที่การตอบสนองของหนังตาที่สาม การดึงขาไม่สามารถบอกถึงระดับการสลบได้ แต่อย่างไรก็ตามการสังเกต reflex ในนกนั้นทำได้ลำบาก
การให้ยานำสลบ (Premedication)
ปกติในนกนั้นไม่ใช้กัน เพราะอาจทำให้การสลบและการฟื้นสลบยาวนานออกไป ตลอดจนมีผลกระทบที่มาก ยาที่ใช้กันเช่น phenothiazine transquilizerจำพวก acepromazineและ chlopromazine หรือ alpha2–adrenoceptor agonist จำพวก xylazine เป็นต้น ซึ่งออกฤทธิ์ที่ทำให้การสลบนานออกไปมากขึ้นและกดการหายใจอย่างมาก



การให้ยาชาเฉพาะที่ (Local Anesthesia)

โดยปกตินกมีส่วนรับความรู้สึกที่ผิวหนังน้อย บริเวณที่นกมีความรู้สึกมากเป็นพิเศษ ได้แก่ cere หงอน เหนียง รอบตา cloaca และบริเวณรอบ ๆ ส่วนขาที่มีเกล็ดและฝ่าเท้า ส่วนบริเวณที่อาจไม่ต้องใช้ยาเลยได้แก่ บริเวณกระเพาะพัก และ กล้ามเนื้ออก ดังนั้น การให้ยาชาเฉพาะที่ในนกปกติแทบไม่ใช้กัน เพราะการรับความรู้สึกที่ผิวหนังมีจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มักทำให้เกิดความเครียดโดยเฉพาะในนกที่ไม่คุ้นเคยกับคน มีความปลอดภัยต่ำเนื่องมาจากขนาดตัวที่เล็กของนกที่อาจทำให้เกิดความเป็นพิษได้ เราจะใช้ยาในกลุ่ม Procain hydrochloride แต่ต้องใช้อย่างระวังเพราะอาจเป็นพิษได้
Lidocain hydrochloride 2% with adrenaline ในขนาด 20 mg/ kg ทั่วไปมีความปลอดภัยสูง แต่ในนกขนาดเล็กระวังการให้ยาเกินขนาด ในนกขนาด 30 กรัม แค่ยา 0.3 มล.ก็อาจทำให้นกถึงแก่ชีวิตได้ เพื่อความปลอดภัยให้ทำการละลายมาเหลือความเข้มข้น 0.5 % นกที่มีน้ำนักมากกว่า 2 กก. ให้ใช้ยาในขนาด 1-3 มล. ซึ่งในนกนั้นสามารถเกิดอาการเป็นพิษของ Lidocain ได้สูงกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมถึง 4 – 10 เท่า อาการที่เกิดจากพิษของ Lidocain ได้แก่ ตื่นเต้น ซึม ชัก ระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว และ respiratory arrest อาการชัก ทำการแก้ไขโดยให้ diazepam (0.1–1.0 mg/kg IV) อาการระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว และ respiratory arrest ทำการแก้ไขโดย intubation, ventilation และให้สารน้ำ
Procain hydrochloride 2% มีความปลอดภัยที่แคบ แต่สามารถให้ได้โดยการเจือจางจาก 2% เป็น 0.2% โดยใช้ที่ 1-2 ml ซึ่งค่อนข้างมีความปลอดภัย


การวางยาสลบโดยใช้ยาฉีด (Injectable General Anesthesia)

มักใช้ในนกที่มีขนาดใหญ่ในกรณีเตรียมก่อนวางยาและการผ่าตัดเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมทั้งการกระทำที่กินเวลาไม่มาก เช่น การถ่ายภาพรังสี การเย็บแผลและการส่องกล้อง เป็นต้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงการใช้ยาฉีดวางยา คือ น้ำหนักที่ถูกต้องโดยเฉพาะในนกขนาดเล็กรวมทั้งมีความยากในการควบคุมระดับความลึกและเวลาในการวางยา
Diazepam ทำให้เกิดการซึม ระงับการชักและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ยังทำให้เกิด ataxia, incoordination และลดการเจ็บปวดได้ไม่ดี ถ้าให้เข้าเส้นเลือดโดยเร็วในรายที่มี hypovolemia จะทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้
Ketamine ไม่มีฤทธิ์ลดความเจ็บปวด รวมทั้งกดการหายใจและหัวใจ ไม่ยับยั้ง ocular reflex กล้ามเนื้อหย่อนตัวได้ไม่ดี มักไม่ใช้เดี่ยว ๆ จะให้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เพื่อการออกฤทธิ์ที่ดีขึ้น เมื่อให้ยาเข้ากล้ามเนื้อการสลบจะเกิดภายใน 3-5 นาที ระยะเวลาการสลบนาน 10–30 นาที ส่วนการฟื้นใช้เวลา 30 นาทีถึง 5 ชม. ขนาดที่ใช้ค่อนข้างผันแปร โดยใช้ 50 – 100 mg / kg ในนกที่น้ำหนักน้อยกว่า 500 กรัม ส่วนนกที่น้ำหนักมากกว่า 500 กรัม เช่น เหยี่ยว ใช้ในขนาด 25 – 50 mg / kg IM ถ้าขนาดยาที่ให้มากกว่า 500 กรัมแนะนำให้ยาช้า ๆ แบ่งให้เนื่องจากการให้ยาฉีดที่มาก อย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิด apnea และ cardiac arrest ได้ สามารถให้ได้ทางเส้นเลือดแต่ต้องร่วมกับยาตัวอื่น
การใช้ Ketamine + diazepam จะทำให้การสลบที่ยาวนานขึ้น กล้ามเนื้อคลายตัวมากขึ้น และมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้ Ketamine + Xylazine เนื่องจากไม่ไปกดการทำงานของปอดและหัวใจ
Xylazine ในขนาด 10 mg/kg IM นกจะเกิดแค่ narcosis ไม่ใช่ภาวะการสลบที่แท้จริง อีกทั้งการฟื้นที่กินเวลานาน มีอาการตื่นเต้น ในนกบางชนิดอาจเกิดอาการชัก นอกจากนี้อาจเกิด bradycardia, partial atrioventricular block, decrease respiration และมักเกิด muscle tremor ขนาดที่ทำให้เกิดอันตรายจะมากกว่าขนาดปรกติ 10 เท่า ก็ยังไม่เป็นที่นิยมกัน
Ketamine + Xylazine ทำให้เกิด hypnosis หรือ anesthesia ในหลาย ๆ ชนิดของนก การคลายตัวของกล้ามเนื้อค่อนข้างดีแต่กดการหายใจมาก ตาบางครั้งอาจปิด palpebral reflexอาจช้าลงหรือไม่มีเลย ส่วนระดับความลึก ระยะเวลา ความยาวของการฟื้นจะขึ้นกับขนาดของ ketamine ที่ใช้
ขนาดที่ใช้ผสมจะมีขนาดที่แตกต่างกันไป การที่ใช้ xylazine ผสมเพื่อต้องการลดการถูกทำลายลงของ ketamine
ส่วนยาในกลุ่ม zolazepam และ tiletamine มักใช้ในกรณีของการถ่ายภาพรังสี การเตรียมตัวก่อนวางยานกขนาดใหญ่ และการผ่าตัดระยะเวลาสั้น ๆ แต่ยานี้มีฤทธิ์ในการบรรเทาความเจ็บปวดที่อ่อนมาก ๆ

ตารางแสดงขนาดของยาที่ใช้เพียงตัวเดียวในการวางยาสลบ

ตารางแสดงขนาดยาที่ใช้ผสมกันในการวางยาสลบ การดมยาสลบ (Inhalation Anesthesia)

เป็นวิธีการวางยาสลบที่แนะนำให้ใช้ในนกที่มีการผ่าตัดใช้เวลานานเพราะสามารถควบคุมระดับการสลบได้และมีความปลอดภัยในนกที่มีน้ำหนักตัวน้อย อุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ เครื่องดมยาสลบ mask หรือ endotrachealtube แบบ uncuffued และ stylet ยาดมสลบที่ใช้กัน เช่น Nitrous Oxide ( N2O ) ความเข้มข้นที่ต่ำกว่า 50 % มีความปลอดภัย ถ้าสูงกว่านี้จะเกิด hypoxia อย่างรุนแรง ห้ามใช้ในรายที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ N2O ในระดับต่ำ ๆ สามารถใช้ร่วมกับ halothane ในการ maintenance ได้ดี
Methoxyflurane มีผลให้การสลบและการฟื้นสลบยาวนานขึ้น แต่มีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดและ muscle relaxant ได้ดีมาก ขนาดยาที่ใช้ขึ้นกับสภาพ cardiopulmonary function โดยปกติใช้ที่ 3 % และ maintenance ที่ 0.2 – 0.5 %
Halothane รองจาก Isoflurane ขนาดยาที่ใช้ขึ้นกับสภาพ cardiopulmonary และ depression myocardial sensitization โดยปกติใช้ที่ 2 % และ maintenance ที่ 1.0–1.5%
Isoflurane จัดเป็นแก็สดมยาที่เหมาะกับนกทุกชนิด มีระยะการเหนี่ยวนำและฟื้นที่สั้นมาก เนื่องจากแก็สนี้ไม่ละลายในกระแสเลือด รวมทั้งมีฤทธิ์กด cardiac output น้อยกว่ายาดมสลบตัวอื่น ๆ รวมทั้งไม่มีความเป็นพิษต่อตับสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานด้วย ให้ใช้ Isoflurane ในอ็อกซิเจนที่ความเข้มข้น 4–5% จนกว่านกจะมีการผ่อนคลาย แล้วลดลงเหลือ 1–2 % ถ้าทำการผ่าตัดใช้เวลาน้อยให้คงระดับของก็าซโดยผ่านทางหน้ากาก ถ้าใช้เวลานานมากขึ้นให้ทำการสอดท่อหลอดลม
ถ้าไม่ใช้การดมให้ใช้สำลีจุ่ม methoxyflurane แล้ววางไว้ในหน้ากากจึงค่อยนำนกใส่เข้าไปดม เราจะไม่ใช้ halothane และ isoflurane ใน open drop system
การฟื้นจากการสลบภายหลังการใช้แก๊สดมสลบจะค่อนข้างเร็ว

Air Sac Intubation (Anesthesia)

การทำ air sac intubation หรือการสอดท่อเข้า air sac เพื่อทำการวางยาสลบนั้น จะทำในกรณีที่ไม่สามารถทำการวางยาสลบโดยใช้ mask หรือ endotracheal tube ได้ หรือในกรณีที่มีการผ่าตัดในส่วนของช่องปาก หัว คอ หรือ ทางเดินหายใจส่วนต้น โดยกรทำนั้นจะใช้ air sac cannula หรือ air sac breathing tube เจาะเข้าช่องท้องของนก ในส่วนด้านหลังของซี่โครงซี่สุดท้าย สอดเข้า thoracic air sac ในบางครั้งอาจทำการสอดเข้าช่องท้องระหว่างซี่โครงซี่รองสุดท้ายและซี่โครงซี่สุดท้าย เมื่อสอดเข้าช่องท้องแล้วทำการตรวจสอบว่าสอดเข้าในส่วนของถุงลมหรือไม่ โดยการใช้สำลีบังลมที่ด้านหน้าของท่อที่สอดว่ามีอากาศผ่านเข้าออกหรือไม่ จากนั้นทำการต่อเข้ากับเครื่องดมยาสลบ

การเฝ้าติดตามระหว่างการสลบ
1. แนะนำให้ใช้ oesophageal ststhoscope
2. แนะนำให้ใช้ ECG หรือ cardiac monitor อื่น ๆ
3. Imp respiratory monitor or an apALERT apnoca and alarm may provide a warning of apnoca
4. An oximeter เพื่อบ่งบอกความอิ่มตัวของอ็อกซิเจนในเส้นเลือดแดง โดยต้องมากกว่า 85 %
5. ให้ใช้ cloacal thermometer เพื่อเฝ้าดูอุณหภูมิและดูอัตราการหายใจในรายที่ผ่าตัดเกินมากกว่า 10 นาที ควรจะมีแผ่นรองให้ความร้อนเพื่อคงระดับอุณหภูมิไว้
การตรวจ reflex สามารถทำได้คล้ายกับในสัตว์ทั่ว ๆ ไป เช่น corneal, palpebral , cerepedal แต่การแปลผลค่อนข้างยากกว่า แต่วิธีการเฝ้าดูระดับการสลบที่ค่อนข้างแน่นอนและไว้ใจได้ คือ การเคลื่อนไหวของช่องอก ดังนั้นควรใช้พลาสติกใสในการทำเป็นผ้าคลุมผ่าตัด ระดับขั้นที่ทำการผ่าได้ คือ มีการหายใจที่ช้าลง ลึกขึ้นและสม่ำเสมอ ร่วมกับมี reflex ที่ตาและขาช้าลง
ภายหลังการผ่าตัดเสร็จ ให้ทำการเปิดอ็อกซิเจน 100% จนกว่านกรู้สึกตัวโดยการกัดท่อที่เสียบหลอดลม และอย่าให้นกลุกขึ้นทันทีเพราะอาจเกิดภาวะความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่ากะทันหัน (orthostatic hypotension) และต้องให้แหล่งความร้อนจนกว่านกจะฟื้นคืนสติจนเต็มที่



Read more!

การวางยาสลบในนก

การวางยาสลบในนก




         ปัจจุบันการวางยาสลบในนกนั้น ที่นิยมทำกันจะทำการวางยาสลบด้วยการดมยา ซึ่งในสัตว์อื่นจะมีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง แต่ในนกนั้นความเสี่ยงในการวางยายังคงมีอยู่ อันเนื่องมาจากตัวนกเอง ทั้งโครงสร้างของร่างกายและความแตกต่างทางชนิดพันธุ์ และการตอบสนองต่อยาสลบ ดั้งนั้นเมื่อต้องการวางยาสลบนกทุกครั้ง ควรจะพิจารณาในหลาย ๆ ด้านว่ามีความเหมาะสมหรือจำเป็นมากน้อยแค่ไหน สามารถที่จะเลี่ยงไปใช้วิธีการอื่นได้หรือไม่ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องด้วยนกเป็นสัตว์ที่มีความตื่นกลัวได้ง่ายและสูง ตัวอย่างวิธีการที่อาจสามารถใช้ได้ เช่น 
1) การจับควบคุมบังคับ ( Restraint ) 
         ทั้งทางกายภาพ ( physical restraint ) และทางเคมี ( chemical restraint ) ซึ่งใช้ได้ดีในนกที่มีความคุ้นเคยกับคนและใช้ได้ในกรณีที่สิ่งที่จะกระทำนั้นไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดมากนัก เช่น การฉายภาพรังสี ( radiography ), laparoscopy, biopsy และ minor surgery เป็นต้น 
2) การระงับความเจ็บปวด 
         ในกรณีที่สิ่งที่จะกระทำนั้นก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่ตัวนกหรือมีการกระตุ้นความเจ็บปวดตลอดเวลา เช่น การทำ minor surgery บางอย่าง อาจทำการให้ยาระงับความเจ็บปวดหรือให้ยาชาเฉพาะที่ ( local anesthesia ) แต่ในบางครั้งอาจไม่จำเป็นเนื่องด้วยผิวหนังของนกมีประสาทรับความรู้สึกน้อย โดยเฉพาะการผ่าตัดที่ผิวหนัง 
3) การคลายกล้ามเนื้อ 
         ในกรณีที่ต้องการจัดท่าในการถ่ายภาพรังสี หรือในกรณีที่มีการดามหรือทำเกี่ยวกับกระดูก 
4) การลดความกังวลและตื่นกลัว 
         ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถที่จะลดการสูญเสียลงได้ ทั้งในกรณีไม่ต้องและต้องวางยาสลบในนก

ข้อพิจารณาก่อนการวางยาสลบในนก 
การจับ ( Handling ) 
          
การจับตัวนกนั้นควรกระทำอย่างนิ่มนวลและไม่ให้ความเครียดหรือเกิดน้อยที่สุด แม้ว่าการจับต้องตัวนกเพื่อทำการตรวจร่างกายก่อนที่จะทำการวางยาสลบนั้นมีความจำเป็น และควรกระทำอย่างรวดเร็วและนิ่มนวล ทั้งก่อนการวางยาสลบ ระหว่างที่สลบ และหลังจากที่พื้นสลบ ซึ่งต้องมีการเตรียมอุปกรณ์และยาให้พร้อมอยู่เสมอ ทั้งในกรณีปกติและในกรณีที่ฉุกเฉินการตรวจร่างกาย ( Clinical Examination ) 
          การตรวจร่างกายนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อที่จะประเมินสุขภาพของตัวนกก่อนที่จะทำการวางยาสลบและผ่าตัด ตลอดจนประเมินถึงความเสี่ยงและผลที่อาจตามมาภายหลังจากการวางยาสลบและผ่าตัด โดยเฉพาะการตรวจการทำงานของตับและไต เนื่องด้วยเกี่ยวข้องกับการสลายและการขับออกของยาสลบที่ใช้ รวมถึงการเลือกใช้ยาสลบและวิธีการที่เหมาะสมกับตัวนก

การตรวจร่างกายที่สำคัญเพื่อที่จะประเมินสุขภาพก่อนทำการวางสลบและการผ่าตัด ได้แก่

1. ตรวจค่าเอนไซด์ในซีรัม ดูสภาวะการทำงานของตับและไต ภาวะโรคตับและไต
2. การตรวจค่าเลือด โดยเฉพาะ PCV, total protein และ serum glucose 
        PCV มากกว่า 55 % บ่งบอกถึงสภาวะขาดน้ำ ( dehydration ) จำเป็นที่ต้องให้สารน้ำ 
        PCV น้อยกว่า 20 % บ่งบอกถึงสภาวะเลือดจาง ( anemia ) จำเป็นที่ต้องให้เลือด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( hypoglycemia ) จำเป็นที่ต้องให้ glucose
3. อายุ นกที่อายุมาก มักพบภาวะ atheroma และ arteriosclerosis ในเส้นเลือดหลักๆ ซึ่งเราไม่สามารถที่จะตรวจพบได้ในขณะที่มีชีวิต โดยเฉพาะตระกูลนกแก้ว ( 35-40 ปี ) ที่มักจะอ้วนและพบได้บ่อย
4. ความแข็งแรงของตัวนก นกที่เลี้ยงในกรงขนาดเล็กจะมีความแข็งแรงน้อยกว่านกที่เลี้ยงในกรงขนาดใหญ่
5. การตรวจระบบทางเดินหายใจและระบบเลือด ดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น มีการอ้าปากหายใจ หายใจเข้าออกลำบาก ยึดคอหายใจ การกระดกของหาง ในสภาพขณะพัก โดยเฉพาะในนกแก้ว สามารถพบโรคทางดินหายใจเรื้อรัง ซึ่งจะมีผลต่อการหายใจ จำเป็นที่ต้องมีการแก้ไขให้เป็นปกติเสียก่อน
6. สภาพของร่างกาย ภาวะทางโภชนาการหรือพลังงานสะสมในร่างกาย ( glycogen reserve ) สภาพที่ผอมหรืออ้วนเกินไปมีผลต่อการวางยาสลบและการสูญเสียความร้อน
7. สภาพขาดน้ำ ประเมินสภาพขาดน้ำ โดยดูจากลักษณะของอุจจาระ เพื่อดูการขับถ่ายของไต ถ้าสงสัยให้ทำการตรวจเลือด นอกจากนี้อาจดูได้จาก สภาพของผิวหนัง, ขา ( แข้ง ) และ เยื่อเมือก 
         การขาดน้ำในนกเช่นเดี่ยวกับในสัตว์เลื้อยคลาน คือ uric acid ที่เพื่มสูงขึ้นนั้นบ่งบอกถึงระดับของการขาดน้ำได้ ที่อาจเป็นผลมาจาก renal damage และ gout8. สภาพช่องท้อง ทำการคลำดูว่ามีก้อนเนื้ออะไรหรือไม่ที่อาจส่งผลต่อการหายใจ เช่น ก้อนเนื้องอก ไข่ค้างในช่องท้อง9. กระเพาะพัก ( crop ) นกที่มีอาหารอยู่เต็มอาจมีการขย้อนออกมาได้ในขณะที่วางยาสลบ นอกจากนี้นกเป็นสัตว์ที่มี Preserve Reflex และนกเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจได้ง่าย ในนกที่ตื่นตกใจหรือกลัวจะมีการหลั่ง adrenaline ออกมาก่อให้เกิด anxiety ในระหว่างการวางยาสลบ ดั้งนั้นควรมีการเลื่อนการวางยาออกไป ประมาณ 48 ชั่วโมง ที่สำคัญที่สุดนกที่มีอาการป่วยอยู่นั้น ควรต้องที่ทำการรักษาให้หายก่อนทำการวางยาสลบและการผ่าตัด



ข้อคำนึงทางสรีระวิทยาของนกในการวางยา
1. ปอดนกยึดติดแน่นกับช่องอก มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม่สามารถขยายขนาดและหดตัวได้ในระหว่างการหายใจ ปริมาณความจุของปอดจึงคงที่ มีเส้นเลือดมาเลี้ยงเป็นร่างแหขนาดของท่อลมที่มีขนาดเล็กและไม่สามารหดยืดได้ (collapsible) ทำให้มีความแตกต่างของความดันในการแพร่ผ่านของแก๊สที่สูงถึง 10-20 เท่า เมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอัตราส่วนน้ำหนักตัวที่เท่ากัน อีกทั้งการที่กระแสเลือดวิ่งสวนทางกับการไหลเวียนของแก็สทำให้การแลกเปลี่ยนแก็สได้ดียิ่งขึ้นด้วย
2. ถุงลม ในนกมีถุงลมอยู่ทั้งหมด 9 อัน ถุงลมในนกนั้นไม่มีส่วนในการแลกเปลี่ยนแก๊ส เพียงแค่เป็นส่วนที่สำรองอากาศและเป็นตัวผลักดันให้มีการไหลเวียนของแก๊สไปในทิศทางเดี่ยวกัน โดยเฉพาะในระหว่างที่บิน จะมีแรงกดจากกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะของรยางค์และส่วนอื่นของร่างกายเป็นตัวผลักดัน ทั้งนี้เพราะนกไม่มีกระบังลม ถุงลมจะมีการเชื่อมต่อกับปอดและกระดูก เมื่อมีการหายใจ แก๊สที่หายใจเข้าจะมีการผ่านปอดสองครั้ง แต่ในคนละทิศทาง ซึ่งในนกนั้นลักษณะการหายใจจะมีอยู่สองจังหวะหรือสองครั้งด้วยกัน คือ เมื่อนกหายใจเข้า แก๊สส่วนหนึ่งจะผ่านเข้าไปในปอด ประมาณ 50 % ส่วนอีก 50 % ที่เหลือจะผ่านเข้าไปในถุงลมส่วนหลัง ( posterior air sac ) และเมื่อนกมีการหายใจออกแก๊สที่อยู่ในถุงลมส่วนหลังจะผ่านเข้าปอด จากนั้นเมื่อนกมีการหายใจเข้าอีกครั้งแก๊สในปอดจะจะเข้าไปในถุงลมส่วนหน้า ( anterior air sac ) และเมื่อนกหายใจออกแก๊สนั้นจะออกสู่บรรยากาศภายนอกต่อไป โดยที่การแลกเปลี่ยนแก๊สทั้งหมดจะเกิดภายในปอด ดังนั้น ยาสลบที่ให้ครึ่งหนึ่งจะเขาปอดและอีกครึ่งจะเข้าไปในถุงลมส่วนหลัง การที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สถึงสองครั้งนี้ ทำให้นกมีประสิทธิภาพในการการแลกเปลี่ยนแก๊สได้ดีกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และ การใช้ยาสลบในการ induction และระดับการสลบเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
3. การที่ปอดนกไม่ได้ขยายตัว การวัดระดับของ PaCO2 ของ chemoreceptor มีความสำคัญมากกว่า machanoraceptor ที่ดูจากความดัน ดังนั้นในนกมีความไวต่อ hypercapnia ดังนั้นต้องคงปริมาตรก็าซอ็อกซิเจนที่ไหลระหว่างการดมยาอย่างน้อยมากกว่า 3 เท่าของปริมาณปรกติ ได้มีการกำหนดปริมาณปรกติ minute volume ไว้ดังนี้ (Klide , 1973)
ไก่ที่มีน้ำหนัก 2.5 กก. minute volume ที่ 770 มล. / นาที
นกพิราบหนัก 300 กรัม minute volume ที่ 250 มล. / นาที
นกขนาดเล็กที่หนัก 30 กรัม minute volume ที่ 25 มล. / นาที 
         ในทางปฏิบัติเราใช้อัตราการไหลของออกซิเจนไม่น้อยกว่า 1.001 / นาที ในนกขนาดเล็ก และที่ 31 / นาทีในไก่ ผลของ hypoxia จะมีความแตกต่างในระหว่างนกแต่ละชนิด แต่โดยทั่วไปปริมาณการใช้อ็อกซิเจนในนกจะสูงมากกว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 
         ดังนั้นจึงต้องให้อ็อกซิเจนตลอดการวางยาไม่ว่าจะเป็นการดมหรือการใช้ยาฉีดก็ตาม รวมทั้งนกที่มีขนาดลิ้นที่ใหญ่ การถอยหลังลงไปกดที่ส่วนคอหอยเกิดได้จึงควรสอดท่อหลอดลมเสมอ ยาที่ใช้ในการวางยาสลบจะมีผลต่อการกดศูนย์การหายใจด้วย 
         ภาวะที่อุณหภูมิต่ำ (Hypothermia) จะกดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ จากที่ปริมาณพื้นที่ผิวภายในถุงลมที่มีมาก ทำให้มีการสูญเสียของเหลวระหว่างการผ่าตัดที่ยาวนาน ในนกที่มีการสูญเสียน้ำจะมีอันตรายและทำให้เกิดการลดลงของปริมาณไหลเวียนเลือดทำให้ปริมาณ cardiac output ลดลง ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์ลดลงและเกิด anaerobic respiration เกิดภาวะ metabolic acidosis ตามมา ภาวะหัวใจล้มเหลวระหว่างการวางยาสลบเกิดได้เนื่องจากภาวะ hypocapnia, hypoxia, hypothermia ยาสลบที่ใช้ ภาวะการขาดน้ำ และตำแหน่งการวางนก



ข้อควรระวังในการวางยาสลบในนก
1. น้ำหนักตัวนก 
          การวางยาสลบในนกแต่ละครั้งควรต้องทำการช่างน้ำหนักนก เพื่อให้ได้น้ำหนักจริงที่ถูกต้อง ที่จะนำไปใช้ในการคำนวณขนาดของยาที่ใช้ ที่เหมาะสมกับตัวนก ทั้ง ยาสลบ ยาลดความเจ็บปวด ยาต้านจุลชีพ และ สารน้ำที่ให้ 
2. ความร้อน 
          ควรต้องมีการให้ความอบอุ่นแก่ตัวนก ทั้งก่อนการวางยาสลบ ระหว่างการสลบและ การฟื้นสลบ รวมถึงในการผ่าตัดด้วย ซึ่งนกโดยทั่วไปจะมี core body temperature ( CBT ) ที่ 40-44 oC ที่เกิดจากการ metabolism ภายในร่างกาย นกที่ป่วยหรือเกิดภาวะ hypoglycemia จะไม่สามารถรักษา CBT ไว้ได้ ตลอดจนการสูญเสียความร้อนไปในระหว่างการผ่าตัด 
3. การให้สารน้ำ 
          ในสภาวะการขาดน้ำหรือการผ่าตัดที่ใช้เวลานาน มากกว่า 20 นาที จำเป็นที่ต้องมีการให้สารน้ำ โดยสารน้ำที่ให้ คือ 2.5 % หรือ 5 % Dextrose บวกกับ saline ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 และอุณหภูมิของสารน้ำที่ให้จะอยู่ที่ 37-40 oC อัตราการให้ ในนกขนาดเล็ก เช่น นกหงษ์หยกน้ำหนัก 30 กรัม ให้ 0.1 ml ส่วนในนกขนาด 1 กิโลกรัม ให้ 1 ml ต่อกิโลกรัม ทุก 10 นาที หรือชั่วโมง การให้สารน้ำที่ดีควรให้ทางเส้นเลือดดำ ( IV ) หรือ Intraosseous 
4. การให้เลือด 
          ในกรณีที่มีภาวะเลือดจาง การให้เลือดในนกสามารถที่จะให้เลือดจากนกที่ต่างชนิดกันได้โดยสามารถที่จะให้ได้อย่างปลอดภัยในกรณีที่การให้เลือดนั้นเป็นครั้งแรกของนก แต่ในครั้งต่อไปต้องมีการตรวจความเข้ากันได้ของเลือดเสียก่อน
5. การงดอาหาร 
          ทั้งก่อนการวางยาสลบและการผ่าตัด ในนกขนาดเล็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัม อาจไม่ต้องงดอาหารเลย นกที่มีน้ำหนักระหว่าง 100-300 กรัม งดอาหาร 3-4 ชั่วโมง นกที่มีน้ำหนักระหว่าง 300-1,000 กรัม งดอาหาร 6 ชั่วโมง นกที่มีน้ำหนักระหว่าง 1,000 กรัม งดอาหาร 12 ชั่วโมง ทั้งนี้นกมี metabolism ที่สูงและไม่สามารถที่จะเก็บสะสม glycogen ไว้ในร่างกายเป็นจำนวนมากได้ ดังนั้นการงดอาหารอาจไม่มีความจำเป็นมากนัก
6. การวางยาสลบ 
          ไม่ว่าจะทำการวางยาด้วยยาอะไรก็ตาม ควรต้องทำการให้ออกซิเจนไว้เสมอ ถ้ามีการสงสัยว่ามีอาหารอยู่ในกระเพาะพัก ให้ใช้สำลีพันปลายไม้ล้วงลงไปในหลอดอาหารส่วนต้น 
7. อัตราการไหลเวียนของออกซิเจนที่ให้ 
          ควรให้ในอัตราที่สูงดีกว่าให้ในอัตราที่ต่ำ 
8. อัตราการหายใจ 
          ต้องไม่ต่ำจนเกินไป และ คงที่ ในระดับของการสลบที่ต่ำ
9. ท่าที่มีความปลอดภัย 
          คือ ท่านอนคว่ำ หรือ ท่านอนตะแคงข้าง
10. การถอนขนในบริเวณที่จะทำการผ่าตัด 
          ไม่ควรถอนขนออกมากเกินไป หรืออย่าให้มีการเปียกน้ำมากในขณะที่มีการทำความสะอาดหรือผ่าตัด
11. บริเวณที่มีเมือกหรือสิ่งคัดหลั่งมาก 
          ให้ทำการใช้ capillary tube ในการดูดออก โดยเฉพาะในส่วนของ oropharynx 
12. กรณีที่มีเมือกหรือสิ่งคัดหลั่งจำนวนมาก 
          ทำการดูดออกโดยใช้กระบอกฉีดยาต่อกับสายยางในการดูดออก เพื่อป้องกันการอุดตัน
13. Atropine 
          ไม่แนะนำให้ใช้ในการเป็น premedication เพราะจะไปเป็นการเพื่มความเข็มข้นของสิ่งคัดหลั่ง โดยเฉพาะในทางเดินหายใจส่วนต้น ยับยั้ง PaCO2 chemorecepter เหนี่ยวนำให้เกิดการกดการหายใจ แต่อาจให้ได้ในกรณี bradycardia ขนาดที่ให้ คือ 0.04-0.1 mg/kg
14. การจัดท่า 
           ทำการดึงปีกออกแต่อย่ายึดปีกให้แน่นและนานเกินไป เพราะอาจทำความเสียหายและกระตุ้นเส้นประสาท brachial plexus นอกจากนี้การวางยาในระดับอ่อนหรือการให้ยาที่ไม่คลายตัวของกล้ามเนื้อเต็มที่ในส่วนของ pectoralis muscle การเคลื่อนไหวของอกอาจถูกจำกัดได้ ส่วนข้อดี คือ ป้องกันการเกิด bradycardia โดยผ่านทางการกระตุ้นเส้นประสาท vagus nerve ที่เป็นผลมาจากการดึงอวัยวะภายในช่องท้อง
15. การสอดท่อลม ( endotracheal tube ) 
           ในนกนั้นทำได้ไม่ยาก ท่อที่สอดนั้นไม่ควรหล่อลื่นด้วยเจลเพราะอาจทำให้เกิดเป็นก้อนอุดตันที่หลอดลม ที่สำคัญที่สุดคือ โครงสร้างของหลอดลมของนกนั้นเป็นโครงสร้างกระดูกอ่อนรูปวงแหวนและเชื่อมต่อกันเป็นวงจึงไม่สามารถขยายออกได้จึงต้องระวังการขยายมากไปที่อาจทำให้หลอดลมฉีดขาดได้ และให้ใช้ท่อสอดหลอดลมแบบ uncuffued เท่านั้น การสอดท่อลมบ้างครั้งต้องมีการใช้ stylet ช่วยในการสอด


 


By: อ.น.สพ.เฉลิมชาติ สมเกิด

Read more!

Health Certificate ของนก Scarlet Macaw









Health Certificate ของนก Scarlet Macaw

คือว่าวันนี้มีชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งมาปรึกษาเรื่องการขอใบรับรองสุขภาพ 
Health Certificate ของนก Scarlet Macaw 
จากผมเพื่อเดินทางกลับประเทศของเขา 
ซึ่งเขาเพิ่งเดินทางมาจากประเทศฮ่องกงเมื่อสี่วันก่อน 

แต่ปัญหาหลักที่มาปรึกษาก็คือด่านกักสัตว์ 
ที่ดอนเมืองบอกว่าสัตว์ปีกทุกตัวที่มาจากเมืองจีนหรือฮ่องกง 
จะต้องโดนกักตัวอยู่ที่สนามบินจนตาย 
หรือถูกทำลายทิ้งทันที เพราะ OIE ว่าไว้อย่างนั้น 
และถ้าประเทศสมาชิกใด 
ละเลยไม่ปฏิบัติจะถูกกีดกันเรื่องการค้าเนื้อสัตว์แช่แข็งระหว่างประเทศ 
ทำให้ประเทศเสียหายหลายหมื่นล้านบาท 

ที่นี้ก็เอาละซิ...ผมจะทำอย่างไรดีเพราะเจ้าของบอกว่าเขาและครอบครัวทำงานที่บริษัท 
OSRAM ซึ่งต้องเดินทางไปทำงาน ณ ประเทศต่าง ๆ 
ในเอเชีย-แปซิฟิก อยู่บ่อย ๆ 
ซึ่งทุกครั้งก็นำนกไปด้วยทุกประเทศ 
เพราะเลี้ยงนกตัวนี้ตัวเดียวมา 20 
ปีแล้วและนกตัวนี้ก็มีใบ Cites 1 รับรองถูกต้อง 

แต่ประเทศสุดท้ายที่ไปก่อนจะมาเมืองไทย คือ ฮ่องกง 
ที่กำลังโดนต่อต้านเรื่อง Bird Flu อยู่พอดี 
และเขาปรึกษาที่สนามบิน 
บอกว่าไม่สามารถเดินทางจากฮ่องกงไปฟิลิปปินส์ได้โดยตรง 
เพราะเป็นนกที่เคยผ่านฮ่องกงมาก่อน ฟิลิปปินส์ไม่ยอมรับ 
ต้องไปผ่านประเทศใดประเทศหนึ่งก่อน 
และขอใบรับรองสุขภาพมาให้ได้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเข้าประเทศฟิลิปปินส์ต่อไป 


เจ้าของก็ไปปรึกษาตามสถานทูตประเทศต่าง ๆ ในฮ่องกง 
เจ้าหน้าที่กงสุนไทยดันไปบอกปากเปล่าไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร 
ว่าสามารถนำนกเข้าประเทศไทยได้ไม่มีปัญหา ( 
แต่เจ้าหน้าที่ทูตไม่รู้เรื่องกฎหมาย OIE ) 
เจ้าของก็ไม่ได้ติดต่อมาทางด่านกักสัตว์ของไทยที่ดอนเมืองก่อนเดินทาง 

พอเดินทางมาถึงก็ยุ่งละซิ 
นกเลี้ยงกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่สงสัยจะเป็น Bird Flu 
ต้องห้ามเข้าประเทศ , 
กักไว้ที่สนามบินและอาจต้องทำลายทิ้ง 
เจ้าของที่เลี้ยงมา 20 ปีก็โวยวายใหญ่เลย 
เพราะนกเขามีใบรับรองสุขภาพมาจากฮ่องกงและมีใบ Cites 1 
รับรองถูกต้อง ทำไมนกเขาต้องตายด้วย ( 
น้ำตาก็เล็ดตามมาเป็นน้ำตก ) 

สุดท้ายหลังจากผมประสานได้ทั้งสิบทิศ 
ก็ได้ความว่านกสามารถออกจากประเทศไทยไปฟิลิปปินส์ได้ 
แต่ประเทศไทยขอเป็นแค่ทางผ่านเท่านั้น 
ไม่ออกใบรับรองสุขภาพสัตว์ให้โดยเด็ดขาด 
ออกแต่ใบที่บอกว่าผ่านไทยและกักอยู่ในดอนเมืองเท่านั้น 
และเมื่อนกไปถึงสนามบินกรุงมะนิลาแล้วก็จ่ายเงินใต้โต๊ะกันเอง 
ผมไม่เกี่ยว... 

เรื่องนี้สอนคุณหมอสัตว์ป่ารุ่นใหม่ทุกท่านว่า 
ต้องศึกษากฎหมายการนำเข้า-ส่งออกสัตว์ระหว่างประเทศไว้ด้วยเพราะเราหนีไม่พ้นแน่นอนครับ 

By: หมอเกษตร

Read more!