Wednesday, December 12, 2007

สรุป สถานการณ์ไข้หวัดนกย้อนหลัง 3 waves ใน non-domestic species

By: อ.น.สพ.รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์


สรุป สถานการณ์ไข้หวัดนกย้อนหลัง 3 waves ใน non-domestic species

ภาพรวม สัตว์ที่พบเป็นบวกต่อเชื้อ Flu A, H5N1

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ถ้าไม่นับสุนัข แมว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่นๆที่พบเป็นบวกจากการแยกเชื้อได้แก่ เสือโคร่ง เสือดาว เพียงพอนเล็ก และที่สงสัยว่าเป็นบวก โดยพบจากการตรวจ test kit ต่อ flu A ได้แก่ เสือโคร่ง และ เสือลายเมฆ สัตว์ที่พบ sero positive ได้แก่ เสือไฟ ข้อสังเกตคือ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์สวนสัตว์ที่กินไก่ที่มีเชื้อ และเรายังมีการศึกษาในสัตว์กลุ่มที่เป็น scarvenger ต่อซากไก่ เวลาระบาดน้อยไป ที่จริงอาจพบได้ เช่น ในcase สุนัข และแมวบ้าน

สัตว์ปีก 25 ชนิด

ข้อสังเกตของกลุ่มชนิดนกที่พบเป็นบวก คือ
1. กลุ่มนกปากห่าง ที่พบจำนวนมาก พบในหลายครั้ง (ช่วงเวลา) ที่เก็บ
2. นกที่ share habitat กับนกปากห่าง
3. นกที่อาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ
4. นกที่อาศัยเป็นกลุ่มฝูง มีประชากรหนาแน่น
5. นกที่มีพื้นที่หากินซ้อนทับกับสัตว์บ้านที่พบเป็นบวก (เป็ดไล่ทุ่ง, เล้าไก่)
6. นกที่อพยพมาจากพื้นที่ที่เป็น hot spot
7. นกในสวนสัตว์ที่มี การจัดการ biosecurity ไม่ดี
8. นกลักลอบนำเข้า (พบเป็นบวกโดยด่าน EU)
9. นกที่ติดโรคโดยบังเอิญ

ข้อสังเกต กรณีนกปากห่าง
1. นกปากห่างอาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ จากการศึกษาพบว่าน้ำใต้ colony นกปากห่างสามารถติดเชื้อไข่ฟักได้ และจากการเก็บในห้องทดลอง สองอาทิตย์ ยังสามารถติดเชื้อไข่ฟักได้
2. นกปากห่างกินหอยเชอรี่ จากการศึกษาของ อ.อรุณีพบว่า เชื้อจะไปจับตัว ( มี affinity ) กับเมือกของหอย ทำให้เพิ่ม dose และเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อ
3. นกปากห่างทำรังแบบหลายชั้นไปบนต้นไม้ หากชั้นบนเป็นบวก ก็มีโอกาสสูงที่ถ่ายมูลมาทำให้รังชั้นล่างปนเปื้อนเชื้อได้ เมื่อเปรียบเทียบกับนกพิราบทำรังบนชายคาคอนกรีท เชื้อจะแห้งตาย และมีโอกาสน้อยกว่าที่จะถ่ายเชื้อให้รังอื่นที่ต่ำลงมา
4. นกปากห่างมีพื้นที่หากินซ้อนทับกับเป็ดไล่ทุ่ง

ข้อสรุป ส่วน virology
· Route of infection ยังคงเป็น feco-oral route และ high concentration fomite ยังไม่มีหลักฐาน aerosol
· การติดจากคนสู่คนมีแล้ว ที่เวียดนาม แต่เป็นแบบเฝ้าไข้ใกล้ชิด
· เชื้อที่พบยังไม่มีการกลายพันธุ์ ที่ทำให้เกิดการติดจากคนสู่คนได้ง่ายๆ
· เชื้อที่พบ บางกรณีมีการดื้อยา Tamiflu แต่ส่วนใหญ่ ยังไม่ดื้อต่อยา Tamiflu

คำถามที่มักถูกถาม


1. นกอพยพนำโรคมาหรือไม่
1.1. ตั้งแต่ wave แรก เวลาการเกิดโรค ไม่สอดคล้องกับการอพยพมาของนก
1.2. การกระจายตัวของโรคและพื้นที่ ลุกลาม เป็นไปตามทางรถ ใน wave แรก และ wave สอง กระจายไปตามการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง
1.3. จากการศึกษาของ อ. อรุณี คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล ด้าน phylogeny พบว่า wave แรกมีความสัมพันธ์ ทาง genetic แต่หลังจากนั้น virus ที่ isolate มาได้จากนกปากห่างไม่ได้มีความสัมพันธ์กับ เชื้อที่ isolate ได้จากไก่บ้านใน wave สองและสาม ( พื้นที่ จ.สุพรรณบุรี )

2. นกป่านำโรคหรือไม่
2.1. ตามข้อ 1.3 ข้อสรุปของ อ.อรุณี สรุปว่าในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี นกปากห่างเป็น reservoir ที่พร้อมจะถ่ายเชื้อให้สัตว์บ้าน แม้ว่ายังไม่เกิดขึ้น
2.2. ปัจจุบัน ใน case ที่พบ ล่าสุดช่วงหลังๆ เชื้อที่ isolate ได้ ยังไม่มีตัวไหนที่มี strain เหมือนเชื้อที่แยกได้จากทะเลสาบ ชิงไห่ ประเทศจีน

3. เรามองข้ามอะไรไปบ้าง
3.1. ประเทศไทยยังขาด การทำสำรวจต่อเนื่อง (active surveillance) ที่ครอบคลุมพื้นที่เฉพาะ ในเวลาที่แน่นอน เพื่อทราบการมาถึงของโรค ความสัมพันธ์ของโรคระหว่างสัตว์ป่ากับสัตว์บ้าน และ พลวัตการเกิดโรคในประชากรสัตว์ป่า (disease dynamics, fate of diseased population)
3.2. สัตว์ที่อาศัยร่วม habitat กับ สัตว์ที่เป็น positive โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่นก เช่น scavenger, หอยทาก
3.3. การระบุชนิด host ยังหยาบ มักใช้คำรวมว่า นกน้ำ หรือ นกอพยพ ที่จริงแล้ว ควรลงไปถึง species เช่น กรณี ห่านที่เกาะอังกฤษ การ identify species ผิด ระหว่างหงส์ resident กับ หงส์ migratory มีความต่างของระบาดวิทยามาก
3.4. การควบคุม เฝ้าระวังสัตว์ และ infected material อื่นๆด้วย เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มูลไก่ และ การตกค้างในสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสียที่ระบายจากฟาร์มที่เป็นบวก
3.5. ผู้ล่า และ ตัวกินซาก ที่อาจได้รับเชื้อจากไก่ หรือ สัตว์ที่ตายจากโรค
3.6. ระบบนิเวศน์ ตรงที่ที่เกิดการระบาด และ การประเมินผลกระทบเชิงนิเวศ ตลอดจนวัฏจักรสารในพื้นที่
3.7. การเฝ้าระวัง H อื่น N อื่น ที่อาจเป็นต้นเค้าของการกลายพันธุ์
3.8. co-infection ที่อาจเสริมการระบาด เช่น โรคมาเร็กซ์ โรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ
3.9. ผลกระทบจากการใช้วัคซีน

การระบุชนิด และกลุ่มนกที่น่าจับตา (Hot species)
· นกปากห่าง
· นกที่อาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ
· นกที่อาศัยอยู่หนาแน่น
· นกที่ทำรังเป็นชั้นๆ
· นกที่มีพื้นที่หากินซ้อนทับสัตว์บ้าน
· นกที่หากินเป็นฝูงใกล้บ้านคน หรือ ชุมชน

การระบุพื้นที่ที่น่าจับตา (Hot area)
· พื้นที่ช่องทางเข้า ของนกอพยพ ที่นกใช้พักหากินตอนเข้าประเทศ
· พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีประชากรนกอาศัย หากิน ขยายพันธุ์ อย่างหนาแน่น
· พื้นที่ที่สัตว์ป่า หากินซ้อนทับสัตว์บ้าน
· ฝูงที่หากิน ขยายพันธุ์ หนาแน่น ใกล้ที่อาศัยของคน
· พื้นที่สำคัญในการอนุรักษ์นก Important Bird Area, IBA

No comments: