Wednesday, December 12, 2007

การเก็บเลือดนก

การเก็บเลือดนก (Blood collection)

การเก็บเลือดนก เรื่องควรรู้เกี่ยวกับตรวจเลือดนกการตรวจเลือดในนกมีความสำคัญการในวินิจฉัยโรคและพิจารณาแนวทางการรักษานกโดยเฉพาะในธรรมชาติจะพัฒนาการเกิดโรคแต่ มักจะไม่แสดงอาการทางคลินิกเพื่อไม่ให้สัตว์ผู้ล่าสังเกตพบว่าป่วย นกเลี้ยงก็เช่นกันมักไม่ค่อยแสดงอาการป่วยให้เห็นจนกว่าอาการจะรุนแรงการวินิจฉัยโรคโดยมีผลทางห้องปฏิบัติการประกอบจะช่วยการพิจารณาแนวทางการรักษาให้ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ ขณะที่นกยังแสดงอาการไม่ มากหรือยังไม่แสดงอาการหากทิ้งระยะเวลาไว้นานอาจเป็นผลให้นกเสียชีวิตได้เนื่องจากได้รับการรักษาไม่ทันควรตรวจ ทุกอย่างที่จำเป็นต่อการวินิจฉัยทั้งนี้ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของโดยสัตวแพทย์ควรจะชี้ แจงรายละเอียดทั้งหมดให้ เจ้าของทราบเพื่อใช้ในการตัดสินใจ


การเก็บตัวอย่างเลือดอุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่

- กระบอกฉีดยา (syring)
- capillary tube หรือ microcontainer collection system
- เข็มที่ใช้ได้ตั้งแต่เบอร์ 23 ถึง 27 gauge

เวลาเก็บเลือดควรค่อยดูดเลือดเข้ากระบอกฉีดยาอย่างช้าๆ เนื่องจากหลอดเลือดดำของนก collapse ได้ง่าย เลือดที่นำมาทำ blood smear ไม่ควรใช้สารกันแข็ ตั เนื่องจาก heparin จะมีผลต่อการย้อมสี EDTA จะทำให้เม็ดเลือดบางชนิดแตก แต่หากไม่สามารถ smear เลือดได้ทันทีหลังเก็บตัวอย่าง อาจใช้ lithium heparin เป็นสารป้องกันการแข็งตัวในนก ซึ่งโดยรวมดีกว่าแต่มีนกบางชนิดที่ EDTAให้ผลดีกว่า ดังนั้นในนกที ไม่เคยทราบค่าเลือดพออาจใช้ทั้ง EDTA และ heparin มีหลายตำแหน่งที่ เราสามารถใช้เก็บเลือด ได้แก่ การเจาะเลือดดำที่ขา (median metatarsal bone), หลอดเลือดดำที่ปีก cutaneous ulnar vein, jugular vein และการเก็บเลือดจากการตัดปลายเล็บให้เลือดออก toenail clip

การเก็บตัวอย่างเลือดจาก jugular vein


การเก็บตัวอย่างจากหลอดเลือดดำขนาดใหญ่อย่าง jugular vein นั้นสามารถเก็บเลือดปริมาณมากได้ ข้อดีอีกประการของการเก็บตัวอย่างเลือดจาก jugular vein คือโอกาสที่จะเกิด hematoma น้อย ในนก jugular vein ข้างขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าข้างซ้ายอย่างมีนัยสำคัญ การเก็บตัวอย่างเลือดจาก jugular vein สามารถทำได้ในนกทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่นกขนาดเล็กอย่างนกหงษ์หยกหรือนกครีบูน แต่อาจทำได้ยากในนกพิราบ และนกเขาเนื่องจากหากเลือดไหลมากกว่าปกติหลังจากการ เก็บตัวอย่างเลือดอาจบ่งถึงพยาธิสภาพที่ตับ การเจาะเลือดจาก jugular vein จำเป็นต้องมีผู้ช่วยจับบังคับ แต่ในนกขนาดเล็กอาจสามารถทำคนเดียวได้ โดยใช้มือหนึ่งจับที่บริเวณหัวและใช้อีกมือเจาะเลือดขณะเจาะให้ ยืดคอออกไปด้านหน้าเพื่อให้หลอดเลือดอยู่กับที ไม่เคลื่อนไปมาโดยง่าย ใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาดขนบริเวณนั้นและเป็นตัวช่วยให้มองเห็นหลอดเลือดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจจะต้องขยับ crop ออกจากตำแหน่งเดิมเพื่อให้การเจาะเลือดทำได้สะดวกขึ้น เข็มที่นิยมใช้คือขนาด 25 gauge ร่วมกับ syringe ขนาด 1 มล. หรือ 3 มล. สามารถสอดเข็มไปได้ทั้ง 2 ทิศทาง ควรกดหลอดเลือดที่บริเวณทางเข้าช่องอก (thoracic inlet) เพื่อให้หลอดเลือดถูกกักอยู่ที่บริเวณคอ หลังจากเจาะเลือดเรียบร้อยแล้วให้กดเบา ๆ ที่ บริเวณที่ เจาะเลือด เพื่อป้องกันการเกิด hemotoma สำหรับ jugular vein ข้างซ้ายอาจมีขนาดเล็ก แต่บางครั้งก็สามารถใช้เป็นตำแหน่งในการเจาะเลือดได้ การเก็บตัวอย่างจากหลอดเลือดที่ ปีกในนกที่มี ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ อาจทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำที่ปีกได้นกจะต้องถูกบังคับให้ อยู่นิ่งโดยปีกข้างหนึ่งถูกกางออก เอาแอลกอฮอล์ เช็ดบริเวณข้อศอกด้านใน เพื่อให้เห็นหลอดเลือดชัดเจนยิงขึ้นอาจดึงขนที่ปกคลุมเส้นเลือดออกสองสามเส้นเมื่อเจาะเลือดเสร็จควรกดบริเวณนั้นเพื่อป้องกันการเกิด hemotoma ควรกดเส้นเลือดให้นานที่สุดเท่าที่ นกจะไม่เครียด อย่างไรก็ตาม การเก็บตัวอย่างเลือดจากตำแหน่งนี้มีโอกาสที่จะเกิด hemotoma ง่ายแม้ว่าจะทำอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม

การเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดที่ขา


หลอดเลือด matatarsal vein จะอยู่ที่บริเวณ dorsomedian leg ใกล้ ๆกับ tarsal joint เพื่อให้เห็นหลอดเลือดให้ชัดเจนให้ ทำการกดเบาๆ ที่ด้านหน้าตำแหน่งที่จะทำการเจาะเลือดหลังจากถอนเข็มออกให้กดบริเวณนั้นเพื่อลดโอกาสเกิด hemotoma อย่างไรก็ตาม การเกิด hemotoma บริเวณนี้เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการเจาะเลือดจากหลอดเลือดที่ปีกและขาจำเป็นต้องใช้เวลานาน ดังนั้น จึงไม่แนะนำในกรณีนกที่อ่อนแอและเกิดภาวะ stress การเก็บตัวอย่างจากเล็บตีนนก วิธี toenail clip มี ข้อดี คือ ทำได้ง่ายแต่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และตัวอย่างเลือดมีโอกาสปนเปื้อนได้ง่ายจากอุจจาระและเศษอาหารที่ติดอยู่ตามขนบริเวณนั้นการเก็บตัวอย่างเลือดโดยวิธีนี้เลือดจะค่อยๆ ไหลอย่างช้าๆ นอกเสียจากว่าเราตัดสั้นมากๆ (ขณะเก็บเลือดไม่ควรรีดหรือบีบเพื่อเร่งให้เลือดออกเพราะจะทำให้ตัวอย่างเลือดที่ได้มีเม็ดเลือดแดงแตก)หลังจากการเก็บตัวอย่างเลือดแล้วอาจทำการห้ามเลือดด้วย silver nitrate หรือ ferrous sulfate สัตวแพทย์บางคนอาจเก็บตั วอย่างเลือดด้วยวิธีนี้เนื่องจากเป็นวิธีที่มี complication น้อยที่สุด แต่วิธีนี้ก่อให้เกิดความเจ็บปวด นกอาจไม่ใช้ตีนนั้นในการเกาะคอนช่วงเวลาหนึ่ง จึงแนะนำให้ใช้ วิธีนี้เฉพาะกรณี ที่ต้องการเลือดจำนวนน้อยเท่านั้น

การตรวจนับเม็ดเลือด (Complete blood count)


เป็นการตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในเลือด เม็ดเลือดแดงของนกจะมีขนาดใหญ่ และมีอายุสั้น (24-25 วัน) นั่นหมายถึงว่าจะมีการสร้างเม็ดเลือดใหม่ทุก 4-6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในกรณีที่ นกตัวนั้นเสียเลือดจำนวนมาก ค่า PCV ในจะอยู่ประมาณ 37-50% โดยนกอายุน้อยจะมีค่าค่อนข้างต่ำ ถ้าค่า PCV น้อยกว่าช่วงปกติ (37%) อาจพิจารณาได้ว่านกตัวนั นโลหิตจาง (anemia) ถ้าค่าต่ำกว่า 15% อาจต้องให้เลือด ที่ PCV หรือ RBC ลดลงหรือค่าทางโลหิตวิทยาที่บ่งบอกว่าเกิดภาวะโลหิตจาง (anemia) ในนกส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเสียเลือด การเพิ่มการทำลายเม็ดเลือด และการลดการสร้างเม็ดเลือดแดง สาเหตุของการเสียเลือดอาจเพราะเกิดบาดแผล หรือได้รับสารพิษที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น coumarin เป็นต้น ส่วนสาเหตุของการสร้างเม็ดเลือดน้อยลง ได้แก่ การเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ปัญหาเกี่ยวกับอาหารการได้รับสารพิษบางชนิดและปัญหาเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อหรือสาเหตุของการเพิ่มการทำลายเม็ดเลือดอาจมาจากพยาธิเม็ดเลือด ได้แก่ Plasmodium sp., Haemoproteus sp. เป็นต้น พยาธิในเม็ดเลือดนก (Blood parasite) Haemoproteus sp. : สามารถพบ gametocyte state เป็นลักษณะสีเหลืองออกน้ำตาลที่ ในไซโตพลาซึมของเม็ดเลือดแดง และเบียดนิวเคลียสให้เคลื่อนไปจากตำแหน่งปกติ macrogametocyte จะย้อมติดสีน้ำเงินและ microgametocyte จะย้อมติดสีฟ้าหรือชมพูและมี pigment granule สีเหลืองอยู่ภายใน Leucocytozoon sp. :ระยะ gametocyte จะมีรูปร่างกลมจนถึงวงรี ขนาดใหญ่ ไม่มี granule อยู่ภายใน บางครั้งอาจมีหางพบในไซโตพลาซึมของเม็ดเลือดแดงที่มีอายุน้อย เม็ดเลือดแดงที่มี Leucocytozoon อยู่ข้างใน จะมี ขนาดใหญ่กว่าปกติ และมีนิวเคลียส 2 อันซึ่งอันหนึ่งเป็นของเซลล์เม็ดเลือดแดงเอง และอีกอันเป็นของ Leucocytozoon, Plasmodium spp. : สามารถพบระยะ schizont trophozoites และ gametocyte ในเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและ thrombocyte gametocyte จะมี pigment granule สีเหลืองอยู่ภายใน และมักเป็นสาเหตุให้นิวเคลียสของเม็ดเลือดแดงถูกเบียดไปอยู่ด้านข้าง trophozoites จะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก และมี vacuole สำหรับระยะ schizonts จะมีสีม่วงเข้มรูปร่างกลมๆ หรืออาจเป็นรูปไข่ Toxoplasma sp. : มี รูปร่างกลม หรือบางครั้งอาจเป็นรูปไข่ สามารถพบใน cytoplasm ของ lymphocyte และ monocyte ทำให้นิวเคลียสของโฮสต์มีรูปร่างเป็นเสี้ยวพระจันทร์ Microfilaria larva: สามารถพบได้บ่อยในนกประเภท Psittacine จำนวนเม็ดเลือดขาวในนกบอกถึงระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถ้าจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติเป็นตัวบ่งบอกว่านกตัวนั้นป่วยสาเหตุของการที่ heterophil (เทียบเท่ากับ Neutrophil ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม) มากกว่าปกติอาจเป็น เพราะนกตัวนั้นอยู่ในภาวะเครียด ติดเชื้อ ได้รับสารพิษบางชนิด หรือเป็น metabolic disease ในนกแก้วอายุน้อย (น้อยกว่า 6 เดือน) จำนวนเม็ดเลือดขาวอาจจะสูงกว่าในนกที่โตเต็มที่ จำนวนเม็ดเลือดขาวที่น้อยกว่าช่วงปกติ อาจจะบ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อไวรัสในกระแสเลือด (viremia) ได้รับสารพิษบางชนิดได้รับยาพวกสเตรียรอยด์ การเกิดภูมิคุ้มกันต่อร่างกายตัวเอง (autoimmune disease)

ค่าเคมีโลหิต (Plasma Biochemistry)


Creatine kinase เอนไซม์ตัวนี้จะอยู่ที่กล้ามเนื้อ และการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ในพลาสมาบ่งบอกว่ามี muscle injury อาจมีสาเหตุจากการกระแทกการฉีดยาภาวะ muscle wasting ขาดวิตามิน E และซีลีเนียม หรือพิษจากตะกั่ว นกพิราบสื่อสารอาจมีปริมาณเอนไซม์ตัวนี้ค่อนข้างสูง


Aspatate amiotransferase (AST) แม้ว่าค่า AST จะไม่เฉพาะเจาะจง กับการทำงานของตับ แต่เราก็ใช้ปริมาณ AST เป็นตัวบ่งชี ภาวะของตับในนก ค่าปกติจะอยู่ที่ AST ควรทำคู่ไปกับค่า CPK จะมี half life สั้นกว่าค่า AST และมีโอกาสกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วกว่า AST


Uric acid เป็น Nitrogenous waste product ที่สำคัญในนก การเพิ่มขึ้นของ uric acid ในเลือดบ่งถึงความเสียหายของไต ไม่นิยมตรวจ BUN และ creatinine เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเนื่องจากค่าที่ได้ไม่สัมพันธ์กับสภาพของไตในนก


Blood glucose ในนกจะมีปริมาณกลูโคสในพลาสมาสูงกว่าในสุนัขและแมวและสูงมากในภาวะเครียด ในนกไม่ค่อยพบว่าเป็นเบาหวานนอกจากตรวจพบว่ามีความเข้มข้นของกลูโคสในเลือดสูงกว่า 900 mg% เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่วนภาวะที่มีกลูโคสต่ำกว่าปกตินั้น มีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารได้รับอาหารที่มีคุณภาพไม่ดี โรคตับ เกิดเนื้องอกหรือภาวะ aspergillosis นกบางชนิดนั้นสามารถทนได้กับภาวะขาดอาหารได้นาน โดยไม่เกิดภาวะ hypoglycemia อย่างรวดเร็วเมื่ออดอาหารได้ไม่กี่วัน นอกจากนี้ ภาวะเป็นพิษจากวิตามิน A (vitamin A toxicity) การได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูงและอาหารที่มียูเรียมากก็สามารถทำให้เกิดภาวะ hypoglycemia ในนกได้เช่นกัน ถ้าพบว่าปริมาณกลูโคสในเลือดต่ำกว่า 150 mg% อาจบ่งถึงภาวะที่อันตรายถึงชีวิต


แคลเซียม ปริมาณแคลเซี่ยมของนกในพลาสมาส่วนใหญ่ จะอยู่ใน ช่วงปกติ (8-12 mg%) นอกจากนกตัวนั้นอยู่ในภาวะ calcium deficiency ซึ่งวินิจฉัยได้จากภาพถ่าย x-ray และอาการแสดงทางคลินิก เช่น weakness สาเหตุที่นกอยู่ในภาวะขาดแคลเซี่ยม คือ อาหารที่มีคุณภาพไม่ ดีหรืออยู่ในช่วงวางไข่ African greyparrots เป็นนกที่มีความไวต่อ hypocalcemia มากโดยเมื่อความเข้มข้นของแคลเซียมในพลาสมาลดลงนกจะแสดงอาการอ่อนแรงและชักความเข้มข้นของแคลเซี่ยมในเลือดที่สูงขึ้นกว่าช่วงปกติอาจมีสาเหตุมาจากภาวะการเป็นพิษจากวิตามิน D เกิดเนื้องอกของกระดูก ภาวะ hyperparathyroidism นอกจากนี้ในนกเพศเมียที่อยู่ในช่วงวางไข่ก็มีค่าความเข้มข้นของแคลเซีjยมในพลาสมาสูงเช่นกัน โดยอาจสูงถึง 25 mg%


Total protein ค่าปกติในนกนั้นจะน้อยกว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมประมาณครึ่งหนึ่ง (3.0-5.5 mg%) วิธีการตรวจความเข้มข้นของ albumin ที่ใช้โดยทั่วไปมักไม่ได้ผลในนกผลที่ได้ จากการตรวจโดยห้องปฏิบัติการทั่วไปมักไม่แม่นยำวิธีที่เหมาะสมในการตรวจปริมาณ albumin และ globulin ในเลือดนก คือวิธี electrophoresis

  • Plasma protein electrophoresis วิธีนี้สามารถแบ่งโปรตีนออกเป็น 5 fraction ได้แก่ prealumin, albumin, alpha-globulin, beta-globulin และ gammaglobulin ค่าทีได้จะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละ species และในบาง species จะไม่มี prealbumin หรือถ้ามีก็น้อยมากค่า alpha และ beta-globulin หมายถึง การอักเสบอย่างเฉียบพลัน (acute inflammation) ภาวะร่างกายติดเชื้อรา (systemic mycoses) ส่วน gamma-globulin หมายถึง immune gloulin การเพิ่มขึ้นของ beta และ gamma-globulin แสดงว่ามีการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น ภาวะ Aspergillosis, psittacosis หรือ mycobacteriosis อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือบางครั้งอาจเป็นเพราะเนื้องอกบางชนิด การมี gamma-globulin น้อยกว่าปกติ อาจหมายถึง immunodeficiency state วิธี electrophoresis เป็น screening test ที่ มีประโยชน์ มาก ในการตรวจ และติดตามผลการตอบสนองต่อการรักษาในนกป่วย


Bilirubin ไม่ค่อยมีประโยชน์ในนกเนื่องจากไม่ค่อยพบนกที่เป็น ดีซ่าน นกไม่มีเอนไซม์ที่เปลี่ยน biliverdin เป็น bilirubin ในนกที่เป็นโรคตับจะมีปริมาณ biliverdin สูงขึ้น biliverdin มักจะไม่สะสมในร่างกายแต่จะขับทิ้งรวดเร็วทางไต ทำให้เกิด urate สี เขียว/เหลือง พร้อมกับของเสียอื่น ๆ

Bile acid ใช้ในการตรวจสภาพของตับในนกจำพวก Psittacine ส่วนใหญ่จะมีค่าน้อยกว่า 100 umol/l ถ้าพบว่ามีค่าสูงกว่า 150-200 umol/l แสดงว่ามีการทำงานที่ผิดปกติของตับการตรวจอาจมีค่าคลาดเคลื่อนจากค่าที่แท้จริง ถ้ามีการปนเปื้อนไขมันในเลือด หรือมีการแตกของเม็ดเลือดแดง

เอกสารอ้างอิง

Dorrestei GM. Cytology and Haematology In:Manual of Psittacine Birds.

Beynon (ed.).1996. BSAVA. P 38-48

Rupley AE. Clinical PATHOLOGY In: Manual of Avian Practice. Rupley AE(ed.).1996.

W.B.Sauder. P345-402 Hoefer HL.Basic Avian Blood Testig.http://home.tt.net/~hhoefer/avianblood-test.htm

No comments: