Wednesday, December 12, 2007

การวางยาสลบในนก (ต่อ)

โดย อ.น.สพ.เฉลิมชาติ สมเกิด

การวางยาสลบในนก (ต่อ)

ระดับของการวางยาสลบ


ให้ประเมินดูว่ามีการสูญเสีย righting reflex ระดับและความลึกของการหายใจที่เป็นปรกติ โดยที่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของระดับสัตว์ที่ปรกติ ในระยะที่สลบลึกปานกลางตามักจะหลับแต่ corneal reflex ยังปรกติอยู่ โดยดูที่การตอบสนองของหนังตาที่สาม การดึงขาไม่สามารถบอกถึงระดับการสลบได้ แต่อย่างไรก็ตามการสังเกต reflex ในนกนั้นทำได้ลำบาก
การให้ยานำสลบ (Premedication)
ปกติในนกนั้นไม่ใช้กัน เพราะอาจทำให้การสลบและการฟื้นสลบยาวนานออกไป ตลอดจนมีผลกระทบที่มาก ยาที่ใช้กันเช่น phenothiazine transquilizerจำพวก acepromazineและ chlopromazine หรือ alpha2–adrenoceptor agonist จำพวก xylazine เป็นต้น ซึ่งออกฤทธิ์ที่ทำให้การสลบนานออกไปมากขึ้นและกดการหายใจอย่างมาก



การให้ยาชาเฉพาะที่ (Local Anesthesia)

โดยปกตินกมีส่วนรับความรู้สึกที่ผิวหนังน้อย บริเวณที่นกมีความรู้สึกมากเป็นพิเศษ ได้แก่ cere หงอน เหนียง รอบตา cloaca และบริเวณรอบ ๆ ส่วนขาที่มีเกล็ดและฝ่าเท้า ส่วนบริเวณที่อาจไม่ต้องใช้ยาเลยได้แก่ บริเวณกระเพาะพัก และ กล้ามเนื้ออก ดังนั้น การให้ยาชาเฉพาะที่ในนกปกติแทบไม่ใช้กัน เพราะการรับความรู้สึกที่ผิวหนังมีจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มักทำให้เกิดความเครียดโดยเฉพาะในนกที่ไม่คุ้นเคยกับคน มีความปลอดภัยต่ำเนื่องมาจากขนาดตัวที่เล็กของนกที่อาจทำให้เกิดความเป็นพิษได้ เราจะใช้ยาในกลุ่ม Procain hydrochloride แต่ต้องใช้อย่างระวังเพราะอาจเป็นพิษได้
Lidocain hydrochloride 2% with adrenaline ในขนาด 20 mg/ kg ทั่วไปมีความปลอดภัยสูง แต่ในนกขนาดเล็กระวังการให้ยาเกินขนาด ในนกขนาด 30 กรัม แค่ยา 0.3 มล.ก็อาจทำให้นกถึงแก่ชีวิตได้ เพื่อความปลอดภัยให้ทำการละลายมาเหลือความเข้มข้น 0.5 % นกที่มีน้ำนักมากกว่า 2 กก. ให้ใช้ยาในขนาด 1-3 มล. ซึ่งในนกนั้นสามารถเกิดอาการเป็นพิษของ Lidocain ได้สูงกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมถึง 4 – 10 เท่า อาการที่เกิดจากพิษของ Lidocain ได้แก่ ตื่นเต้น ซึม ชัก ระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว และ respiratory arrest อาการชัก ทำการแก้ไขโดยให้ diazepam (0.1–1.0 mg/kg IV) อาการระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว และ respiratory arrest ทำการแก้ไขโดย intubation, ventilation และให้สารน้ำ
Procain hydrochloride 2% มีความปลอดภัยที่แคบ แต่สามารถให้ได้โดยการเจือจางจาก 2% เป็น 0.2% โดยใช้ที่ 1-2 ml ซึ่งค่อนข้างมีความปลอดภัย


การวางยาสลบโดยใช้ยาฉีด (Injectable General Anesthesia)

มักใช้ในนกที่มีขนาดใหญ่ในกรณีเตรียมก่อนวางยาและการผ่าตัดเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมทั้งการกระทำที่กินเวลาไม่มาก เช่น การถ่ายภาพรังสี การเย็บแผลและการส่องกล้อง เป็นต้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงการใช้ยาฉีดวางยา คือ น้ำหนักที่ถูกต้องโดยเฉพาะในนกขนาดเล็กรวมทั้งมีความยากในการควบคุมระดับความลึกและเวลาในการวางยา
Diazepam ทำให้เกิดการซึม ระงับการชักและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ยังทำให้เกิด ataxia, incoordination และลดการเจ็บปวดได้ไม่ดี ถ้าให้เข้าเส้นเลือดโดยเร็วในรายที่มี hypovolemia จะทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้
Ketamine ไม่มีฤทธิ์ลดความเจ็บปวด รวมทั้งกดการหายใจและหัวใจ ไม่ยับยั้ง ocular reflex กล้ามเนื้อหย่อนตัวได้ไม่ดี มักไม่ใช้เดี่ยว ๆ จะให้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เพื่อการออกฤทธิ์ที่ดีขึ้น เมื่อให้ยาเข้ากล้ามเนื้อการสลบจะเกิดภายใน 3-5 นาที ระยะเวลาการสลบนาน 10–30 นาที ส่วนการฟื้นใช้เวลา 30 นาทีถึง 5 ชม. ขนาดที่ใช้ค่อนข้างผันแปร โดยใช้ 50 – 100 mg / kg ในนกที่น้ำหนักน้อยกว่า 500 กรัม ส่วนนกที่น้ำหนักมากกว่า 500 กรัม เช่น เหยี่ยว ใช้ในขนาด 25 – 50 mg / kg IM ถ้าขนาดยาที่ให้มากกว่า 500 กรัมแนะนำให้ยาช้า ๆ แบ่งให้เนื่องจากการให้ยาฉีดที่มาก อย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิด apnea และ cardiac arrest ได้ สามารถให้ได้ทางเส้นเลือดแต่ต้องร่วมกับยาตัวอื่น
การใช้ Ketamine + diazepam จะทำให้การสลบที่ยาวนานขึ้น กล้ามเนื้อคลายตัวมากขึ้น และมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้ Ketamine + Xylazine เนื่องจากไม่ไปกดการทำงานของปอดและหัวใจ
Xylazine ในขนาด 10 mg/kg IM นกจะเกิดแค่ narcosis ไม่ใช่ภาวะการสลบที่แท้จริง อีกทั้งการฟื้นที่กินเวลานาน มีอาการตื่นเต้น ในนกบางชนิดอาจเกิดอาการชัก นอกจากนี้อาจเกิด bradycardia, partial atrioventricular block, decrease respiration และมักเกิด muscle tremor ขนาดที่ทำให้เกิดอันตรายจะมากกว่าขนาดปรกติ 10 เท่า ก็ยังไม่เป็นที่นิยมกัน
Ketamine + Xylazine ทำให้เกิด hypnosis หรือ anesthesia ในหลาย ๆ ชนิดของนก การคลายตัวของกล้ามเนื้อค่อนข้างดีแต่กดการหายใจมาก ตาบางครั้งอาจปิด palpebral reflexอาจช้าลงหรือไม่มีเลย ส่วนระดับความลึก ระยะเวลา ความยาวของการฟื้นจะขึ้นกับขนาดของ ketamine ที่ใช้
ขนาดที่ใช้ผสมจะมีขนาดที่แตกต่างกันไป การที่ใช้ xylazine ผสมเพื่อต้องการลดการถูกทำลายลงของ ketamine
ส่วนยาในกลุ่ม zolazepam และ tiletamine มักใช้ในกรณีของการถ่ายภาพรังสี การเตรียมตัวก่อนวางยานกขนาดใหญ่ และการผ่าตัดระยะเวลาสั้น ๆ แต่ยานี้มีฤทธิ์ในการบรรเทาความเจ็บปวดที่อ่อนมาก ๆ

ตารางแสดงขนาดของยาที่ใช้เพียงตัวเดียวในการวางยาสลบ

ตารางแสดงขนาดยาที่ใช้ผสมกันในการวางยาสลบ การดมยาสลบ (Inhalation Anesthesia)

เป็นวิธีการวางยาสลบที่แนะนำให้ใช้ในนกที่มีการผ่าตัดใช้เวลานานเพราะสามารถควบคุมระดับการสลบได้และมีความปลอดภัยในนกที่มีน้ำหนักตัวน้อย อุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ เครื่องดมยาสลบ mask หรือ endotrachealtube แบบ uncuffued และ stylet ยาดมสลบที่ใช้กัน เช่น Nitrous Oxide ( N2O ) ความเข้มข้นที่ต่ำกว่า 50 % มีความปลอดภัย ถ้าสูงกว่านี้จะเกิด hypoxia อย่างรุนแรง ห้ามใช้ในรายที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ N2O ในระดับต่ำ ๆ สามารถใช้ร่วมกับ halothane ในการ maintenance ได้ดี
Methoxyflurane มีผลให้การสลบและการฟื้นสลบยาวนานขึ้น แต่มีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดและ muscle relaxant ได้ดีมาก ขนาดยาที่ใช้ขึ้นกับสภาพ cardiopulmonary function โดยปกติใช้ที่ 3 % และ maintenance ที่ 0.2 – 0.5 %
Halothane รองจาก Isoflurane ขนาดยาที่ใช้ขึ้นกับสภาพ cardiopulmonary และ depression myocardial sensitization โดยปกติใช้ที่ 2 % และ maintenance ที่ 1.0–1.5%
Isoflurane จัดเป็นแก็สดมยาที่เหมาะกับนกทุกชนิด มีระยะการเหนี่ยวนำและฟื้นที่สั้นมาก เนื่องจากแก็สนี้ไม่ละลายในกระแสเลือด รวมทั้งมีฤทธิ์กด cardiac output น้อยกว่ายาดมสลบตัวอื่น ๆ รวมทั้งไม่มีความเป็นพิษต่อตับสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานด้วย ให้ใช้ Isoflurane ในอ็อกซิเจนที่ความเข้มข้น 4–5% จนกว่านกจะมีการผ่อนคลาย แล้วลดลงเหลือ 1–2 % ถ้าทำการผ่าตัดใช้เวลาน้อยให้คงระดับของก็าซโดยผ่านทางหน้ากาก ถ้าใช้เวลานานมากขึ้นให้ทำการสอดท่อหลอดลม
ถ้าไม่ใช้การดมให้ใช้สำลีจุ่ม methoxyflurane แล้ววางไว้ในหน้ากากจึงค่อยนำนกใส่เข้าไปดม เราจะไม่ใช้ halothane และ isoflurane ใน open drop system
การฟื้นจากการสลบภายหลังการใช้แก๊สดมสลบจะค่อนข้างเร็ว

Air Sac Intubation (Anesthesia)

การทำ air sac intubation หรือการสอดท่อเข้า air sac เพื่อทำการวางยาสลบนั้น จะทำในกรณีที่ไม่สามารถทำการวางยาสลบโดยใช้ mask หรือ endotracheal tube ได้ หรือในกรณีที่มีการผ่าตัดในส่วนของช่องปาก หัว คอ หรือ ทางเดินหายใจส่วนต้น โดยกรทำนั้นจะใช้ air sac cannula หรือ air sac breathing tube เจาะเข้าช่องท้องของนก ในส่วนด้านหลังของซี่โครงซี่สุดท้าย สอดเข้า thoracic air sac ในบางครั้งอาจทำการสอดเข้าช่องท้องระหว่างซี่โครงซี่รองสุดท้ายและซี่โครงซี่สุดท้าย เมื่อสอดเข้าช่องท้องแล้วทำการตรวจสอบว่าสอดเข้าในส่วนของถุงลมหรือไม่ โดยการใช้สำลีบังลมที่ด้านหน้าของท่อที่สอดว่ามีอากาศผ่านเข้าออกหรือไม่ จากนั้นทำการต่อเข้ากับเครื่องดมยาสลบ

การเฝ้าติดตามระหว่างการสลบ
1. แนะนำให้ใช้ oesophageal ststhoscope
2. แนะนำให้ใช้ ECG หรือ cardiac monitor อื่น ๆ
3. Imp respiratory monitor or an apALERT apnoca and alarm may provide a warning of apnoca
4. An oximeter เพื่อบ่งบอกความอิ่มตัวของอ็อกซิเจนในเส้นเลือดแดง โดยต้องมากกว่า 85 %
5. ให้ใช้ cloacal thermometer เพื่อเฝ้าดูอุณหภูมิและดูอัตราการหายใจในรายที่ผ่าตัดเกินมากกว่า 10 นาที ควรจะมีแผ่นรองให้ความร้อนเพื่อคงระดับอุณหภูมิไว้
การตรวจ reflex สามารถทำได้คล้ายกับในสัตว์ทั่ว ๆ ไป เช่น corneal, palpebral , cerepedal แต่การแปลผลค่อนข้างยากกว่า แต่วิธีการเฝ้าดูระดับการสลบที่ค่อนข้างแน่นอนและไว้ใจได้ คือ การเคลื่อนไหวของช่องอก ดังนั้นควรใช้พลาสติกใสในการทำเป็นผ้าคลุมผ่าตัด ระดับขั้นที่ทำการผ่าได้ คือ มีการหายใจที่ช้าลง ลึกขึ้นและสม่ำเสมอ ร่วมกับมี reflex ที่ตาและขาช้าลง
ภายหลังการผ่าตัดเสร็จ ให้ทำการเปิดอ็อกซิเจน 100% จนกว่านกรู้สึกตัวโดยการกัดท่อที่เสียบหลอดลม และอย่าให้นกลุกขึ้นทันทีเพราะอาจเกิดภาวะความดันต่ำจากการเปลี่ยนท่ากะทันหัน (orthostatic hypotension) และต้องให้แหล่งความร้อนจนกว่านกจะฟื้นคืนสติจนเต็มที่



No comments: